วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้อยใจยา

คลิกเพื่อฟังเพลง
น้อยใจยา
จรัล & สุนทรีย์
(..ชาย.)
ปวง ดอกไม้ เบ่งบานสลอน....
ฝูงภมร ภู่ผึ้งสอดไซร้
ดอกพิกุลของเปิ้นต้นใต้ (ดอกพิกุลของเขาต้นทิศใต้)(เปิ้น=เขา)
ลมปัดไม้มาสู่บ้านตู๋ (ลมพัดไม้มาสู่บ้านฉัน)(ตู๋น่าจะแปลว่าฉันนะคะเดาเอาว่าน่าจะเป็นโบราณตอนนี้ไม่ได้ยินใครพูดกันค่ะ)ส่วนไม้น่าจะย่อมาจากดอกไม้ค่ะ
ฮู้แน่ซัดเข้าสอดสองหู(รู้แน่ซัดเข้าสอดสองหู)
ว่าสีจมปู ถูกป้อมเก๊าเนิ้ง....(ว่าสีชมพูถูกฟันต้นลง)(จมปู=ชมพู,ป้อม=ฟัน,เก๊า=ต้น,เนิ้ง=โค้งหรือโน้มใช้คำนี้กับต้นไม้เท่านั้นและคำนี้เป็นคำเหนือโบราณที่ทราบเพราะเคยอ่านชื่อยางเนิ้งซึ่งแปลว่าต้นยางโน้มค่ะ)
เก๊ามันต๋าย ป๋ายมันเซิ่ง(ต้นมันตายปลายมันเฉ)(ต๋าย=ตาย,ป๋าย=ปลาย,เซิ่ง=เฉ)
ลำกิ่งเนิ้ง ต๋ายโก่นตวยแนว(ลำกิ่งโน้ม ตายโค่นตามแนว)(โตย=ด้วย)
ดอกพิกุล ก่คือดอกแก้ว(ดอกพิกุลก็คือดอกแก้วหรือดอกพิกุลก็เหมือนดอกแก้ว)(ก่คือ=ก็คือหรือแปลว่าเหมือนกับในความหมายของเพลงนี้ เนี่องจากคนเหนือสมัยก่อนไม่รู้จักดอกแก้วสีขาวรู้จักแต่ดอกพิกุลซึ่งชาวเหนือเรียกว่าดอกแก้วค่ะไม่ได้เรียกว่าดอกพิกุล  เพลงท่อนนี้จึงตีความได้สองอย่างค่ะ)
ไปเป๋นหองเปิ้น แล้ว เหนอ (ไปเป็นของเขาแล้วหนอ)
....(.หญิง.)
แปม เก๊าเนิ้ง กิ่งมันบ่ถอน....(ต้นโน้มแต่ว่ากิ่งมันไม่ถอน) ส่วน แปม=ผักแปม ไม้พุ่ม มีหนามแหลมต้นสูงประมาณ 2 เมตร ใช้รับประทานทั่วไปในภาคเหนือ
บ่ไหวคลอนเฟือนเตี่ยงมันแต้เล่า (ไม่ไหวคลอนเฟือนเที่ยงมั่นจริงเล่า)(เตี่ยงมั่น=เที่ยงมั่น,แต้=จริง)
ต๋ามกำลม เปิ้นปัดออกเข้า (ตามคำลม เขาพัดออกเข้า)(ข้าพเจ้าเข้าใจว่าน่าจะหมายถึงตามคำพูดเข้าออกของคน)
มีแต่เก๊า ไหวหวั่นคลอนเฟือน(มีแต่ต้นไหวหวั่นคลอนเฟือน)
กิ่งมันแต้ บ่แซสะเหลือน (กิ่งมันจริงๆ แล้วไม่เซ )
บ่เหมือนลมเจย (เชย)
ลำเพย ก่จะนั้น....(รำเพย) (ไม่เหมือนลมรำเพยหรอก)ผู้ประพันธ์เปรียบชายเป็นลมหญิงเป็นต้นดอกไม้
ใจ๋คำญิง นี้หนิมเตี่ยงมั่น(ใจคำของหญิงนี้นิ่งเที่ยงมั่น)(หนิม=นิ่งหรือสงบเสงี่ยม)
บ่เป๋นหองเปิ้น..คนใด(ไม่เป็นของเขาคนใด)(หอง=ของ)
ยังเป๋นกระจก แว่นแก้วเงาใส(ยังเป็นกระจกแว่นแก้วเงาใส) ลืมบอกไปค่ะว่านางเอกชื่อแว่นแก้วพระเอกชื่อใจยา
บ่ไหวคลอนเหงี่ยง จาย เหนอ(ไม่ไหวคลอนเอียง จายหนอ)(เหงี่ยง=เอียง,จาย=คำใช้นำหน้าชายที่เคยบวชเรียนมาก่อนเรียกอีกอย่างว่าน้อย ซึ่งถ้ามากพรรษากว่าจะเรียกหนานค่ะ หรือน่าจะแปลอีกเป็นอีกความหมายว่าผู้ชาย)
....(.ชาย..)
ตั๋ว ปี้น้อยจักขอถาม.... (ตัวพี่น้อยจะขอถาม)(น้อย=คำใช้นำหน้าชายที่เคยบวชเรียนมาก่อน)
ต๋าม กำลมเปิ้นมาเล่าอู้ (ตามคำลมเขามาเล่าพูด)(อู้=พูด)(กำลม=คำลม ถ้าเป็นแสลง ลม หมายถึงคำโกหกค่ะ)
ว่านายมีจู้ อยู่บ้านวังสิงห์คำ (ว่าเธอมีชู้รักอยู่บ้านวังสิงห์คำ)(จู๊=ชู้,นาย=เธอ)
ฝ่ายตางปู้นเปิ้นมาใส่ผะจ๋ำ (ฝ่ายทางนู้นเขามาติดประจำ)(ตางปู้น=ทางนุ้น,ใส่ผะจ๋ำ=ติดประจำ ใช้สำหรับกรณีวางเงินมัดจำ)
บ้านวังสิงห์คำ เปิ้นมาหมั้นก่ไว้แล้ว....(บ้านวังสิงห์คำเขามาหมั้นไว้แล้ว)
ตางฝ่ายปั๋นตั๋ว น้องนางแว่นแก้ว (ทางฝ่ายข้างตัวน้องนางแว่นแก้ว)
ก่ตกลงแล้ว บ่ไจ้กาหา(ก็ตกลงแล้วไม่ใช่หรือ)(ใจ้=ใช่,ก๋า=ใหม?ใช่หรือไม่/หรือยัง/แล้วยัง คำนี้ใช้ต่อท้ายเพื่อใช้ถามค่ะ เช่นกินข้าวแล้วก๋า)
เปิ้นจะกินแขก แต่งก๋านก่วิวาห์ (เขาจะกินแขกแต่งการวิวาห์)
เมื่อใดจา ปี้น้อยไคร่ฮู้เก้า....(เมื่อใดหนอ พี่น้อยอยากรู้วันเริ่มหรืออยากรู้ที่มาที่ไปของเรื่อง)(จา=หนอ มักเป็นคำรำพันออกมา, ฮู้=รู้,เก๊า=ต้นหรือเริ่ม)
ส่วนไจยาบ่สมเปิงเจ้า (ส่วนใจยาไม่เหมาะสมเจ้า)(เปิง=เหมาะ)
เพราะเขียมเข้าของ..เงินทอง (เพราะไม่มีเงินทองข้าวของ)(เขียม=หายากหรือในเพลงนี้หมายถึงไม่มีหรือยากจนน่ะเองค่ะ)
ฝ่ายตางนาย บ่หมายเกี่ยวข้อง (ฝ่ายทางเธอไม่อยากเกี่ยวข้อง)(ตาง=ทาง)
มาละหมองต่ำ ก้อย เหนอ (มาทิ้งหมองต่ำก้อย หนอ)(ละ=ทิ้งหรือ เลิกก็ได้ค่ะคำนี้ยังนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันแปลแยกทางกัน)
....(.หญิง.)
ตั๋ว น้องนี้บ่ลาไหลหลง....(ตัวน้องนี้ไม่ลาไหลหลง)
ก๋านตกลงก่ยังบ่แล้ว (การตกลงก็ยังไม่เสร็จ)(ก๋าน=การ,บ่แล้ว=ไม่เสร็จ)
จึงเจิญตั๋วปี้มาห้วยแก้ว(จึงเชิญตัวพี่มาห้วยแก้ว) (เจิญ=เชิญ,ตั๋ว=ตัว )ส่วนห้วยแก้วนั้นเป็นน้ำตกเล็กๆ อยู่ตีนดอยสุเทพ เข้าทางด้านหน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เป็นที่พลอดรักของของสมัยก่อน ถัดขึ้นไปก็เป็นวังบัวบานสถานที่ฆ่าตัวตายของผู้หญิงอกหัก
เพราะใคร่ฮู้กำฟู่กำจ๋า (เพราะอยากรู้คำพูดจา)
จึงเจิญน้อย ปี้มาเปิกษา(จึงเชิญน้อยพี่มาปรึกษา)
จะว่าใดจา ตั๋วน้องก่ไคร่ฮู้....(จะว่าใดหนอ ตัวน้องก็อยากรู้)
ก๋านตี้มาฟู่อู้ (การที่มาพูด)
จะเอาเป็นจู้กาว่าเอาเป๋นเมีย(จะเอาเป็นคนรักหรือว่าเอาเป็นเมีย)(ชู้นี้น่าจะเป็นชู้รักซะมากกว่า)
หรือจักลบล้างลืมลายหน่ายเสีย(หรือจะลบล้างลืมลายหน่ายเสีย)
บ่เอาเป๋นเมีย(ไม่เอาเป็นเมีย)
หรือจักทิ้ง เสียแล้ว....(หรือจะทิ้งเสียแล้ว)
หรือเอาเป๋น เมียนางจ้างแก้ว(หรือจะเอาเป็นเมียนางช้างแก้ว)(เมียนางช้างแก้ว=สำนวนคำพ้องภาษาเหนือหมายถึงเมียที่ดี)
อยู่เป๋นกู้ ข้างเตียมคิง(อยู่เป็นคู่ข้างเทียมเธอ)
ขอบอกนายหื้อแน่ใจ๋จริง(ขอบอกเธอให้แน่ใจจริง)
บ่อำพรางนาถ น้อง เหนอ(ไม่อำพรางนาถ น้องหนอ)
....(..ชาย.)
บ่จุ๊หรอกน้อง หื้อหม่นหมองหมาง..(ไม่หลอกน้องให้หม่นหมองหมาง)(จุ๊=หลอก,)
บ่ล่อลวงพรางแม่นางฮ้างแค้ว (ไม่ล่อลวงพรางแม่นางเอวบาง)(ฮ่าง=หุ่น,แค้ว=เอวคอด)
ปี้หมายเอาเป๋นเมียนางจ้างแก้ว(พี่หมายเอาเป็นเมียนางช้างแก้ว)
บ่หื้อคลาดแคล้วเรื่องกำสีเนห์(ไม่ให้คลาดแคล้วเรื่องคำสิเนหา)(กำ=คำ)
หลอนแก้วน้องใจยังบ่เหว(หากแก้วน้องใจยังไม่แขว)
เตี้ยงสมคะเน เหมือนปี้กึ๊ดเล่า....(เที่ยงสมคะเน เหมือนพี่คิดเล่า)
หลอนปี้จุ๊ก็ยังล่ายเจ้า(หากพี่หลอก)
ขอหื้อฟ้าผ่าหัวแม่เมียตาย(ขอให้ฟ้าผ่าหัวแม่เมียตาย) (แม่เมีย=แม่ยาย)
ลูกแม่ญิง อู้เล่นก่บ่ดาย(ลูกผู้หญิงพูดเล่นก็เท่านั้น)(แม่ญิง=ผู้หญิง)(บ่ดาย=เท่านั้น)
ลูกป้อจาย อู้แต้ก่บ่ปัง....(ลูกผู้ชายพูดจริงก็ไม่ฟัง)
หลอนนายต๋ายไปเป๋นไก่ตั้ง(หากเธอตายไปเป็นไก่ตั้ง)(ไก่ถวายเจ้าที่)
ปี้น้อยจักต๋ายเป็นพื้น (พี่น้อยจะตายเป็นฟืน)
ฟู่บ่ถูก วันพูกก่บ่ขืน ( พูดไม่ถูกวันพรุ่งนี้ก็ไม่คืนคำ)(วันพูก=วันพรุ่งนี้,ขืน=คืน)
ฟู่ม่าคืนตึงบ่ขืนเมื่อเจ๊า....(พูดเมื่อคืนก็ไม่คืน(คำ)ตอนเช้า)(มะคืน=เมื่อคืน,เมื่อเจ๊า=ตอนเช้า)
ก๋านฮักกั๋นหองข้าตึงเจ้า (การรักกันของข้ากับเจ้า)(ตึง=กับหรือทั้ง)
เผียบเหมือนเหล้า..กับปาง (เปรียบเหมือนเหล้ากับขวด)(ปาง=ขวด)
ปากกำไดปี้ก็ตึงอ้าง (พูดคำใดพี่ก็จะอ้าง)(ปาก=พูด )
บ่ไจ่จางจาก น้อง เหนอ (ไม่ใจจางจากน้องหนอ)
....(.หญิง.)
หลอน ว่าแต้เหมือนดั่งกำจ๋า....(หากจริงเหมือนดั่งคำพูด)(จ๋า=พูด)
น้องขอสัญญากับตั๋วปี้น้อย (น้องขอสัญญากับตัวพี่น้อย)
บ่ขอฮักไผ ซักเต้ากึ่งก้อย (ไม่ขอรักใครสักเท่ากึ่งก้อย)
ขอฮักปี้น้อย ไจยานี้ก่คนเดียว (ขอรักพี่น้อยใจยานี้คนเดียว) (ส่วนก่ เป็นการเพิ่มคำให้ดูน่าฟังเท่านั้นพบมากในซอของเหนือหรือแม้แต่เพลงของภาคอีสานหรือของภาคกลางด้วย)
คนอื่นนับร้อยตึงบ่แลบ่เหลียว (คนอื่นนับร้อยก็ไม่แลไม่เหลียว)
จะขอฮักเดียวจายเดียวก่เต้านี้....(จะขอรักเดียวใจเดียวก็เท่านี้)
หลอนว่าน้องจุ๊หรือสัปปะรี้ (หากว่าน้องหลอกหรือปลิ้นปล้อน)(สับปะหลี้=กะล่อนปลิ้นปล้อน)
ขอหื้อฟ้าผ่าหัวพ่อผัวต๋าย(ขอให้ฟ้าผ่าหัวพ่อผัวตาย)
ลูกแม่ญิงบ่ไจ่ว่าบ่ดาย(ลูกผู้หญิงไม่ใช่แค่พูด)
ลูกป้อจายขี้จุ๊ก่แต้ๆ....(ลูกผู้ชายขี้โกหกจริงๆ)
กิ๋นก่ยังตึงแก้ สะเรียมยำใส่แย้ (ทานทั้งที่อิ่มมาก(เดา) สะเดายำใส่แย้)(สะเรียม=สะเดา)
บะเขือแจ้ยำใส่เตา (มะเขือแจ้ยำใส่เตา)(บะเขือแจ้=มะเขือแจ้,เตา=สาหร่ายเป็นเส้นยาวๆเหมือนเส้นผมผู้หญิงเป็นสาหร่ายสีเขียวเข้มชนิดหนึ่งชอบขึ้นน้ำนิ่งและสะอาดชาวบ้านจะไปตักมายำกินสดๆหรือคั่วใส่มะเขือ
หลอนปี้น้อยไจยาฮักแต้ข้าเจ้า (หากพี่น้อยใจยารักจริงดิฉัน)
ก็ยินดีจิ่ม แต้ เหนอ (ก็ยินดีนะ....จริงเอย) (จิ่มเป็นสร้อยคำค่ะ เหมือนคำว่านะของภาคกลาง)
ขอขอบคุณเนื้อเพลงภาษาเหนือจากเว็บ music4thaiค่ะ ส่วนคำแปลแปลยากมาก หากข้าพเจ้าแปลเป็นภาษากลางผิดพลาดประการโปรดชี้แนะด้วยค่ะ

ประวัติเพลงนี้

เพลงนี้น่าจะมาจากตัวละคร"น้อยใจยา - แว่นแก้ว" เป็นบทละครที่ท้าวสุนทรพจนกิจ (ใหม่ บุญมา) กวีประจำราชสำนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประพันธ์ขึ้นถวาย (ตามที่พระราชชายาทรงผู้เรื่อง) และประทานอนุญาตแสดงในโอกาสคล้ายวันประสูติ (ครบ 60 พรรษา แสดงที่วัดสวนดอก) ซึ่งพระราชชายาทรงแกัไขบทบางตอนให้เหมาะสม พร้อมกับทรงประพันธ์คำร้องประกอบทำนองเพลง พื้นเมืองเดิมของล้านนา ได้แก่ ซอทำนองล่องน่าน ซอทำนองเงี้ยวลา ละครจัดแบ่งเป็นฉาก ๆ คือ ฉากห้วยแก้ว ฉากบ้านท้าวไชยลังกา และฉากบนศาล 



6 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากๆเลยค่ะ พอได้รุ้ความหมายของเพลง แล้วทำให้ได้อรรถรสในการฟังมากขึ้นจริงๆค่ะ^^

    ตอบลบ
  2. เป็นเพลงอมตะในใจมาหลายปีแล้วครับ แต่คำแปลยังไม่เต็มร้อยดี แต่ก็โอเคครับ

    ตอบลบ
  3. คำว่ายินดี แปลว่าขอบใจ,ขอบคุณ นะครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับ.. อยากรู้คำแปลมานานแล้ว... คนเชียงใหม่ศัพท์​เทคนิคเยอะมากครับ

    ตอบลบ
  5. บานตู๋ น่าจะแปลว่า บานประตู

    ตอบลบ