ข้าวของเครื่องใช้

บูรีต๋องจ่อ(บุหรี่ตองจ่อ) หรือบุหรี่ขี้โย Banana leaf Cigarate.

         สมัยก่อนไม่มีบุหรี่สำเร็จรูป เป็นซองขายแบบสมัยนี้ คนสมัยก่อนใช้ใบตองแห้งรีดให้เรียบห่อกับยาสูบโรยด้วยขี้โยม้วนเป็นแท่งๆ แบบบุหรี่สมัยนี้แต่ขนาดใหญ่และยาวกว่า ทาใบตองให้ติดเป็นแท่งด้วยยางบะปิน (ยางมะตูม) ขนาดต้องเอายางมะตูมใส่กระปุกไว้ทาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว บางครั้งก็เรียกว่าบุหรี่ขี้โย  ใบตองคนเหนือออกเสียงว่า ใบต๋อง บุหรี่ออกเสียงว่าบูรีค่ะ
 
           ขี้โยทำมาจากเปลือกมะขามบดหยาบ เพื่อความสะดวกมักจะใส่ถุงเก็บไว้ ปัจจุบันมีขายตามร้านขายของชำทั่วไปถุงละบาท (ร้านแม่ข้าพเจ้ามีขาย) ก็เลยถ่ายรูปมาให้ดูกันจะได้รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ถ้าพ้นรุ่นเก่าไปแล้วคาดว่าเจ้าสิ่งนี้คงหายไปตามกาลเวลา เพราะคนรุ่นใหม่สูบบุหรี่สำเร็จรูปกันหมด แต่บุหรี่ปัจจุบันแพงจะหันมาสูบบุหรี่ขี้โยก็ได้นะคะ
  
สมัย ก่อนใช้เตารีดโบราณใส่ถ่านไฟแดงๆ เข้าไปข้างในรีดบนใบตองสดให้เรียบและแห้ง แล้วม้วนเพื่อเก็บไว้ใช้ได้นานๆ ปัจจุบันไม่ทราบทำกันอย่างไร แต่ว่าก็ยังมีขายอยู่ตามร้านขายของชำตามชนบทเชียงใหม่ค่ะ
 
เจตนารมณ์   

             ข้าพเจ้าได้ตั้งจิตอธิฐานไว้ว่าข้าพเจ้าจะบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับวัดใน จังหวัดเชียงใหม่ โดยบันทึกภาพและประวัติอย่างละเอียดในทุกแง่มุม เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของวัดต่างๆ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในวัดด้วย  เนื่องจากข้าพเจ้ามีความนิยมการท่องเที่ยววัดตั้งแต่ในอดีต โดยเฉพาะวัดที่อยู่ในเมืองข้าพเจ้าท่องเที่ยวมาตั้งแต่สมัยเรียน พอจะระลึกได้บางส่วนว่าอดีตของวัดต่างๆ เป็นอย่างไรแต่น่าเสียดายที่สมัยก่อนไม่มีเทคโนโลยีทันสมัยเหมือนปัจจุบัน กล้องดิจิตอลก็เพิ่งจะมีมาไม่กี่ปี  ทำให้ข้าพเจ้าไม่ได้บันทึกภาพความทรงจำที่มีค่าเหล่านั้นไว้ ส่งผลให้งานศิลปะของวัดโบราณหลายแห่ง สุญหายไปอย่างน่าเสียดาย  อย่างเช่น ที่วัดพวกช้าง ลวดลายหน้าวิหารสมัยก่อนไม่ใช่ลายประดับกระจกดังเช่นปัจจุบัน แต่รู้สึกว่าจะเป็นลวดลายปูนปั้นหรือลวดลายแกะสลักเป็นรูปนักษัตรหรือสิงสา ราสัตว์ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมหลายๆอันบนหน้าบรรณวิหารหลวงของวัด  ลวดลายเป็นของเ่ก่าวิจิตรบรรจงและสวยงามมาก ซึ่งลวดลายแบบนี้ของเก่าเห็นจะมีแค่สองที่เท่านั้นคือที่วัดพวกช้าง และวัดสำเภา (วัดสำเภาก็ไม่เหลือแล้วเช่นกัน) การถ่ายภาพส่วนใหญ่ก็จะถ่ายแต่โครงสร้างกว้างๆ เช่น ภาพวิหารทั้งหมด ภาพเจดีย์ทั้งหมด  แต่ข้าพเจ้าลวดลายหรือส่วนประกอบเล็กๆน้อยๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้ภาพอาคารทั้งหมดเนื่องจากเป็นการแสดงออกถึงภูมิปัญญาและ ความปราณีตของงานศิลปะของวัด ต่อให้วัดโครงสร้างสวยสดงดงามแค่ใหนแต่หากมีภาพเขียนหรือลวดลายประดับอย่าง หยาบ วัดนั้นก็ดูจะด้อยในด้านศิลปะไปในทันที  ข้าพเจ้าเห็นว่าวัดที่เชียงใหม่เป็นวัดโบราณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งโครง สร้างและลวดลายประดับ ซึ่งพวกเราลูกหลานควรจะช่วยกันอนุรักษ์ไว้  ข้าพเจ้าทราบมาว่าเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปไม่ได้เก็บรายละเอียดทุกอย่างของ ทุกวัดเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านจำนวนเจ้าหน้าที่ วัดในเชียงใหม่ ไม่ได้เก็บค่าเข้าชมแบบวัดแถวๆ อยุธยา หรือลพบุรี ซึ่งเป็นความใจดีของคนเชียงใหม่  ทั้งพวกเราก็เป็นผู้มีจิตกุศลจึงบริจาคเงินสร้างและบูรณะวัดกันไม่ได้ขาดโดย ไม่ต้องอาศัยเงินค่าเข้าชมวัดแบบที่อื่นๆ แต่หารู้ไม่ว่าการบริจาคเงินสร้างสิ่งใหม่ๆ ทดแทนสิ่งเก่าได้ทำลายสิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์ไปอย่างน่าเสียดาย ถึงแ้ม้ว่าจะเป็นเพียงลวดลายแต่ก็มีคุณค่าไม่ต่างจากโครงสร้างอาคาร  ซึ่งพวกโครงสร้างอาคารและวัดที่สำคัญๆ ทางกรมศิลปได้ดูแลเป็นอย่างดีอยู่แล้ว  จากที่ไปสอบถามกองจดหมายเหตุเชียงใหม่ พบว่าทางกรมศิลปได้บันทึกภาพวัดที่สำคัญไว้แล้ว (แต่วัดที่เชียงใหม่มีเป็นพันวัดทางกรมศิลปจึงดูแลได้ไม่หมดเพราะเจ้า หน้าที่ของกรมศิลปเองก็มีภาระหน้าที่เยอะอยู่แล้ว) บางวัดก็ถือโอกาสปรับปรุงเปลี่ยนแปลง บูรณะ เองโดยไม่ได้ขออนุญาตเนื่องจากไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลป  ข้าพเจ้าเองก็ไม่ได้กล่าวหาวัดเหล่านั้นว่าเป็นผู้ทำลายงานศิลปะ แต่เป็นความจำเป็นของการสร้างสิ่งใหม่เพื่อให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้น เนื่องจากของเดิมชำรุดทรุดโทรมไปมากยากที่จะแก้ไขให้คงเดิม  แต่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่าทำไมถึงได้ปล่อยให้ทุกอย่างทรุดโทรมจนไม่สามารถที่ จะบูรณะให้ึคงสภาพเดิมหรือใกล้เคียงสภาพเดิมได้อาจเป็นเพราะว่าได้ชำรุดไปจน ไม่รู้ว่าสภาพเดิมเป็นอย่างไร ยากที่จะทำให้เหมือนเดิมยังผลให้ต้องรื้อเพื่อสร้างใหม่จึงเป็นการทำลาย ศิลปะเก่าไปอย่างน่าเสียดาย ข้าพเจ้าไม่สามารถหยุดยั้งการกระทำซึ่งเป็นทั้งผลดีและผลเสียนี้ได้ เนื่องจากสิ่งต่างๆ ย่อมเสื่อมโทรมเป็นตามกาลเวลา แต่สิ่งที่สามารถคงอยู่ได้ตลอดไปและกาลเวลาไม่สามารถพรากความสวยงามเหล่านี้ จากไปได้ คือภาพถ่าย
          
           ข้าพเจ้าเห็นว่าในเมื่อเราไม่สามารถหยุดยั้งการกระทำของทุกผู้ทุกเหล่าได้  เนื่องด้วยความคิดเห็นที่นานาจิตตังเรื่องการอนุรักษ์และการทำลาย  แต่เราควรเดินทางสายกลางด้วยการบันทึกเรื่องราวด้วยภาพถ่ายศึ่งในอนาคตจะ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ให้ลูกหลานได้ศึกษาว่าวัดต่างๆ เคยเป็นอย่างไรบ้าง  แม้จะเป็นวัดที่บูรณะหรือสร้างใหม่เมื่อวานนี้ และลวดลายยังใหม่และสดสวยงามอยู่เนื่องจากเพิ่งสร้าง แต่หากเวลาผ่านไปสิบๆปี สิ่งเหล่านี้ย่อมชำรุดไปตามกาลเวลา การที่เราบันทึกภาพไว้ ตอนที่สภาพยังดีและคงความสวยงามอยู่ หากในอนาคตพวกเขาต้องการบูรณะให้คงเดิมก็ยังมีหลักฐานว่าในอดีตเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรให้สวยงามและคงสภาพสมบูรณ์เหมือนในอดีต