เมื่อวานอ่านหนังสือและบันทึกเสียงใ้ห้คนตาบอด เป็นกวีของเจ้าฟ้ากุ้ง ว่าด้วยนิราศธารทองแดงและนิราทพระบาท ที่สะดุดใจคือเรื่องงูเหลือม ท่านนิพนท์ว่างูสามารถกินสัตว์ใหญ่ได้เป็นตัวมีอยู่ครั้งหนึ่งกินแล้วต้องรอ ย่อยหลายวันที่ใต้ต้นไผ่ ไผ่ดันออกหน่อใหม่แทงทะลุงูขาดครึ่ง (งูเคลื่อนที่ไม่ได้เฉพาะกินเยอะเกิน) เอาเรื่องนี้ไปเล่าให้แม่ฟังตอนกินข้าว แม่บอกว่าทางเหนือ งูเหลือมจะกลืนสัตว์เป็นตัวพอหลายๆวันแล้วก็จะคายกระดูกสัตว์ออกมา ชาวบ้านจะเก็บเอากระดูกงูไปเข้ายาเมือง โหไม่เคยได้ยินเลยนะคะเนี่ย ต้องไปถามหมอเมืองแล้วล่ะว่าเอาไปเข้ายาอะไร รักษาโรคอะไรบ้าง เพราะไม่อย่างนั้นก็จะสูญหายไปตามกาลเวลา แม่เล่าให้ฟังว่า งูเหลือมเป็นสัตว์รักสงบ มักอาศัยอยู่ตามพงหญ้ารกๆ ขดตัวเป็นวงกลม เรียกว่า งูตกบ่วง (ภาษาเหนือ) รอคอยสัตว์ที่มาเหยียบโดน แล้วก็จะรัดสัตว์จนหมดสติและกลืนเข้าไปทั้งตัว ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้จะมาเล่าสู่กันฟัง รวมทั้งความเชื่อและการรักษาแบบคนเมืองด้วยค่ะ
การรักษาโรคของคนเมือง
ตอนนี้เท่าที่จะได้ว่าการรักษาแบบเมืองที่คุณย่าเคยสอนน่ะ เวลาปวดหัว จะเอาข้าวนึ่งมาคลึงให้เป็นก้อนกลมๆ เอาไปถูบริเวณขมับ หรือหัวบริเวณที่ปวด แล้วท่องคาถาว่า "อุ่งนะอุ่งนัง มักคะลังสังขา" ท่องคาถาใส่ในข้าวก้อนนั้นแล้วคลึงบริเวณที่ปวดทุกครั้งค่ะ ตอนเด็กๆ น่ะ ย่าเคยสอนหลายคาถานะคะ แต่จำได้แค่นี้อ่ะค่ะ น่าโทษตัวเองจริงๆ วันหลังจะมาเล่าสู่กันฟังใหม่นะคะ
หญ้าน้ำหมึก
เป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นทั่วไป และไม่มีทีท่าว่าจะสูญพันธ์ ต้นเตี้ยๆ ออกดอกสีนวลเล็กๆ ประมาณหนึ่งเซนติเมตร ต้องเด็ดเอาก้านที่มีดอกแล้ว แล้วเอายางสีขาวข้นมาแต้มที่ตุ่มขาง ตอนเด็กๆ แม่บอกว่า เด็ดเอาน้ำยางของหญ้ามาทานขางที่ปากก็จะหาย ข้าพเจ้าทดลองแล้วเป็นยังไงก็ไม่รู้จำไม่ค่อยได้แล้วเพราะเด็กมาก ตอนหลังมาไม่เคยใช้อีกเลยเพราะมียาสมัยใหม่เข้ามาแทน
โรคขาง
นอกจะเป็นกิริยา แปลว่าหวง แล้วยังแปลว่าโรคในช่องปากชนิดหนึ่ง เป็นตุ่มใสๆ ข้างในปาก เกิดจากอาการร้อนใน จริงๆ แล้วข้าพเจ้าก็อยากเอาภาพมาลงนะแต่ไม่รู้ว่าจะหาจากใหน เอาเป็นว่าทุกคนน่าจะเคยเป็น เวลาที่กินอะไรอร่อยจนลืมตัวกัดปากตัวเองจนข้างในเป็นแผลก็จะเกิดรอยช้ำๆ ข้างใน แทนที่จะเป็นรอยช้ำก็เปลี่ยนเป็นตุ่มเล็กๆ ใสๆ แทน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เจ็บปวดและรำคาญไม่แพ้กัน
เป็นพืชชนิดหนึ่งมีสรรพคุณเจริญอาหาร ขี้เปี้ยเป็นคำเหนือแปลว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรง (ขนาดคนขี้เปี้ยยังลุกขึ้นฟ้อนได้เลยคิดดูแล้วกันว่าสรรพคุณจะขนาดไหน) เอาทั้งต้น(รากด้วย)ล้างให้สะอาดต้มน้ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม ขนาดพ่อข้าพเจ้าขี้เกียจทานข้าว ตอนนี้ทานข้าวเก่ง อิ่มคนสุดท้ายทุกวันเลย สมกับชื่อยาจริงๆ ต้นไม้ชนิดนี้ไม่ทราบว่าภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร และคราวหน้าจะเอารูปต้นไม้ชนิดนี้มาลงแล้วกันนะคะ
มะแขว่น |
ดอกบะแขว่น เครื่องเทศหลักของอาหารเหนือจากต้นที่ข้าพเจ้าปลูกเองที่บ้านค่ะ เดี๋ยวรอติดผลจะเอารูปมาฝากนะคะ |
|
|
|
กำจัด กำจัดต้น หมากแคน ลูกระมาศ หมากมาด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 115) มะแขว่น บ่าแขว่น มะแข่น บ่าแข่น (ภาคเหนือ) พริกหอม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 185) |
|
|
|
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดสูง 10-15 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอก ออกเป็นช่อ ผล กลมเท่าเม็ดพริกไทย เปลือกสีแดง ออกเป็นช่อ เมื่อแก่แตกออก มีเมล็ดเล็กลมขนาดเล็ก สีดำ ผิวมัน ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 185) |
|
|
|
ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ข้อมูลทางอาหารสำหรับ ชาวล้านนา ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า ลาบ หลู้ ผลแห้ง เป็นเครื่องปรุงพริกลาบ หลู้ ยำต่างๆ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำกบ ยำเห็ดฟาง ผลดิบ หรือผลแห้ง ใช้ทุบ หรือตำละเอียดพอประมาณ ใส่ปรุงรสแกงผักกาด ผลสด ใส่แกงผักกาดจะหอมกว่าผลแห้ง (ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์; สิรวิชญ์ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์) |
ใบ รสเผ็ด แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน
เมล็ด รสเผ็ดสุขุมหอม แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน
ราก, เนื้อไม้ รสร้อนขื่น ขับลมในลำไส้ แก้ลมเบื้องบน หน้ามือ ตาลาย วิงเวียน ขับระดู (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 115) |
|
|
|
ช่วงปลายฤดูฝน |
|
|
|
ผลมะแขว่น จะคล้ายกับผลมะขวงมาก แต่มะแขว่น จะมีกลิ่นหอมกว่ามะขวง |
|
|
|
กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย. ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. สิรวิชญ์ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 18 มิถุนายน. |
|
ขอขอบคุณ เว็บไซต์ library.cmu สำหรับข้อมูลค่ะ
ผักหละ Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen[1]
ผักหละภาษากลางเรียกว่าชะอมค่ะ คนเหนือชอบเอาไปแกงใส่ขนุน เป็นเครื่องเคียงสำหรับทานกับยำส้มโอ(แบบเหนือ) และใช้ทำอาหารหลายๆ ชนิด ซึ่งท่านสามารถดูรายละเอียดเรื่องผักและอาหารได้จาก
เว็บไซต์ที่มช.ทำไว้ค่อนข้างดีและละเอียดมากค่ะ
ผักปั๋ง Malabar Nightshade, Ceylon Spinach, East Indian Spinach
ผัก ปั๋งภาษากลางเรียกว่าผักปลัง นิยมนำไปแกงกับจิ้นส้ม(แหนมพื้นเมืองแบบเหนือที่ห่อด้วยใบตองเป็นก้อนสี่ เหลี่ยมไม่ใช่แหนมแท่งที่มีขายกันทั่วไปนะคะ แต่รสชาดแบบเดียวกัน) วันใหนแม่ข้าพเจ้าทำให้กินจะเอารูปมาฝากแล้วกันนะคะถ้าใจร้อนก็ไปดูแกงชนิด นี้ได้ที่
เว็บของมช. อาจะมีอย่างละเอียดเลยล่ะค่ะ
ผักก้อมก้อ Lemon basil
ก้อม ก้อหรือใบแมงลักของภาคกลาง เป็นพืชที่มีอยู่ทั่วไปตามชนบท ข้าพเจ้าว่าแม่ข้าพเจ้าเก็บไปขายหลายครั้งนะคะ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ทุกบ้านจะมีผักชนิดนี้อยู่ทั่วไปเกือบทุกบ้านในแกง หน่อไม้ดองใส่ปลา จะต้องใส่ผักชนิดนี้ด้วยเสมอเพื่อดับกลิ่นคาวปลา จะขาดไม่ได้เลยค่ะ
วิธีทำคือเอาแม้ไปลวก เสร็จก็ตำกระเทียม พริกหนุ่มเผาไฟลอกเปลือกและไส้ออกใครชอบเผ็ดก็ไม่ต้องเอาไส้ออก ใส่เกลือเม็ดเล็กน้อยตำๆๆๆ เสร็จก็โยนแม้ลงไปพอประมาณตำๆๆๆ ใส่น้ำเล็กน้อยถ้าชอบน้ำก็ใส่เยอะๆ(เวลากินกับข้าวสวยพ่อชอบใส่น้ำเยอะๆ)