ดนตรีพื้นเมืองของเหนือจริงๆ ได้แก่ สะล้อ ซอ ซึง ข้าพเจ้าเองก็เป็นคนที่มีความรู้ทางด้านนี้น้อยเสียด้วยเป็นผู้้เสพไม่ใช่ผู้บรรเลงหรือผู้ผลิต ดนตรีเหนือปัจจุบันไม่ค่อยพบแล้ว เพราะนิยมดนตรีที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ สมัยเมื่อก่อน 40-50 ปี ที่แล้ว คนเฒ่าคนแก่้เล่าให้ฟังว่าคนสมั้ยก่อนเวลาจะไปแอ่วสาว(จีบสาว) จะพากันไปเป็นกลุ่ม เดินขึ้นกองล่องกอง(ขึ้นล่องกอง=ถนน) ระหว่างเดินก็จะขับร้องเพลงซึ่งเรียกเป็นภาษาเหนือว่า จ้อย มักเรียกรวมกันว่า จ้อยซอ (ตัวเอนต้องอ่านเสียงเหนือซึ่งอ่านเพิ่มได้จากในเว็บนี้เรื่องภาษาเมืองวันละคำ) จ้อย เป็นการแสดงออกถึงความสามารถของคนเหนืออย่างแท้จริง คือ คิดกลอนตอนนั้นแล้วพูดออกมาให้คล้องจองกัน หากเป็นการแสดงอย่างเป็นทางการบนเวทีและตอบโต้กันระหว่างชายหญิงจะเรียกอีกอย่างว่า ซอ ซึ่งจะขับร้องประกอบดนตรีซึ่งมีทำนองคล้ายๆ กัน ส่วนซอที่แปลกกว่าที่อื่นเห็นจะเป็นของจังหวัดน่าน เรียกว่า ซอล่องน่าน และ ฟ้อนแง้น ซึ่งจะมีการซอและฟ้อนอย่างหนึ่งแล้วทำท่าสะพานโค้งเพื่อรับเงินจากผู้ชม การจ้อยหากบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจะเรียกว่า ค่าว ซึ่งคล้ายๆกันการเขียนนิราศของคนภาคกลางซึ่งค่าวของคนเหนือก็มีฉันทลักษณ์เหมือนกัน แต่ข้าพเจ้าเป็นผู้รู้น้อย ผู้ที่สนใจเรื่องนี้สามารถสอบถามได้จากผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งจะมีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เนื่องจากครูจรัลเป็นศิลปินที่ล่วงลับไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ผลงานที่ยิ่งใหญ่ในด้านกวีและท่วงทำนอง เพลงทุกเพลงเนื้อหาและท่วงทำนองประยุกตร์และสอดแทรกเรื่องราวคนเมืองไว้ อย่างลงตัว บางเพลงถึงกับใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองหรือทำนองดนตรีเพลงสมัยใหม่มาดัดแปลงให้ เข้ากับเพลงคำเมือง ทำไมคนเก่งมักจะอายุสั้น น่าเสียดายจึงไม่ทราบที่มาของเพลงว่าครูจรัลมีแรงบันดาลใจอย่างไรในการแต่งเพลง แต่ละเพลง เพลงของครูจรัลเป็นเพลงอมตะและมีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถ้าใครมาเที่ยวเหนือก็จะได้ยินเพลงของครูจรัลเปิดตามร้านอาหารเสมอเพราะเป็นเพลงโฟลคซองฟังสบายจนเหมือนจะกลายเป็นสัญญลักษณ์ของเพลงเหนือไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้คนทั่วไปรู้จักเพลงของครูจรัลมากยิ่งขึ้นโดยจะทำให้ รู้จักในแง่ความเป็นอยู่ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคม ของชาวเหนือซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงโฟลคซองที่สวยงามไพเราะ ในแบบฉบับของครูจรัล มโนเพชร ค่ะ ซึ่งรุ่งจะแปลเพลงของจรัลเป็นภาษากลางให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะคะ โดยจะเผยแพร่ในเว็บนี้แหละค่ะ
จรัล มโนเพชร
เนื่องจากครูจรัลเป็นศิลปินที่ล่วงลับไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ผลงานที่ยิ่งใหญ่ในด้านกวีและท่วงทำนอง เพลงทุกเพลงเนื้อหาและท่วงทำนองประยุกตร์และสอดแทรกเรื่องราวคนเมืองไว้ อย่างลงตัว บางเพลงถึงกับใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองหรือทำนองดนตรีเพลงสมัยใหม่มาดัดแปลงให้ เข้ากับเพลงคำเมือง ทำไมคนเก่งมักจะอายุสั้น น่าเสียดายจึงไม่ทราบที่มาของเพลงว่าครูจรัลมีแรงบันดาลใจอย่างไรในการแต่งเพลง แต่ละเพลง เพลงของครูจรัลเป็นเพลงอมตะและมีชื่อเสียงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถ้าใครมาเที่ยวเหนือก็จะได้ยินเพลงของครูจรัลเปิดตามร้านอาหารเสมอเพราะเป็นเพลงโฟลคซองฟังสบายจนเหมือนจะกลายเป็นสัญญลักษณ์ของเพลงเหนือไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้คนทั่วไปรู้จักเพลงของครูจรัลมากยิ่งขึ้นโดยจะทำให้ รู้จักในแง่ความเป็นอยู่ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคม ของชาวเหนือซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงโฟลคซองที่สวยงามไพเราะ ในแบบฉบับของครูจรัล มโนเพชร ค่ะ ซึ่งรุ่งจะแปลเพลงของจรัลเป็นภาษากลางให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะคะ โดยจะเผยแพร่ในเว็บนี้แหละค่ะ