วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

แก๋งบะฟักหม่นใส่จิ้นไก่(แกงฟักเขียวใส่ไก่) Wax gourd, Benincasa hispida with chicken Curry



นี่ก็เป็นอีกแกงหนึ่งที่ข้าพเจ้าชอบทานฝีมือแม่มาก เพราะอร่อยและไม่เหมือนที่ร้านเขาทำขาย ไม่รู้แม่ใส่อะไรบ้าง แต่ที่แน่ๆ ก็มี ฟักเขียวปอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นพอประมาณ ใส่ไก่ กะเครื่องแกงที่ประกอบด้วยพริกแห้ง  (ฮ้า=ปลาร้า) (ก๋ำปิ=กะปิ) (หอมขาว=กระเทียม) กระเทียม มะแขว่น (ใบบะขูด=ใบมะกรูด)ใบมะกรูดฉีก


มะแขว่น

 

            กำจัด กำจัดต้น หมากแคน ลูกระมาศ หมากมาด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 115) มะแขว่น บ่าแขว่น มะแข่น บ่าแข่น (ภาคเหนือ) พริกหอม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 185)
            ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดสูง 10-15 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอก ออกเป็นช่อ ผล กลมเท่าเม็ดพริกไทย เปลือกสีแดง ออกเป็นช่อ เมื่อแก่แตกออก มีเมล็ดเล็กลมขนาดเล็ก สีดำ ผิวมัน ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 185)
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ข้อมูลทางอาหารสำหรับชาวล้านนา ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า ลาบ หลู้ ผลแห้ง เป็นเครื่องปรุงพริกลาบ หลู้ ยำต่างๆ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำกบ ยำเห็ดฟาง ผลดิบ หรือผลแห้ง ใช้ทุบ หรือตำละเอียดพอประมาณ ใส่ปรุงรสแกงผักกาด ผลสด ใส่แกงผักกาดจะหอมกว่าผลแห้ง (ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์; สิรวิชญ์ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
        
ใบ รสเผ็ด แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน
เมล็ด รสเผ็ดสุขุมหอม แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน
ราก, เนื้อไม้ รสร้อนขื่น ขับลมในลำไส้ แก้ลมเบื้องบน หน้ามือ ตาลาย วิงเวียน ขับระดู (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 115)
            ช่วงปลายฤดูฝน
ผลมะแขว่น จะคล้ายกับผลมะขวงมาก แต่มะแขว่น จะมีกลิ่นหอมกว่ามะขวง
            
กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.
ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สิรวิชญ์ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 18 มิถุนายน.
 ขอขอบคุณ เว็บไซต์ library.cmu สำหรับข้อมูลค่ะ

บะฟักหม่น(ฟักเขียว)
Wax gourd, Benincasa hispida
ชื่ออื่นเรียกตามท้องถิ่น : ภาคกลางเรียก “ฟัก ฟักขาว ฟักแฟง” ภาคอีสานเรียก “บักฟัก” ภาคใต้เรียก “ขี้พร้า” ภาคเหนือเรียก “ฟักหม่น”
ลักษณะ : ฟักเขียวเป็นไม้เถาเลื้อยตระกูลแตง ใบมีสีเขียวเป็นหยักใบหยาบ ดอกมีสีเหลือง ผลเป็นรูปกลมยาวขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ เปลือกสีเขียวมีขนอ่อนเล็กน้อย เนื้อในจะมีสีขาว เนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ ตรงกลางมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปลูกได้ในดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี เป็นผักที่มีอายุการปลูกสั้น ปลูกเพียง 3 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ฟักเขียวเป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดีในสมัยก่อน และได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน เพราะถือได้ว่าเป็นผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่ปลูกง่าย หาได้ง่าย และลงทุนน้อยโดยไม่พึ่งสารเคมี เป็นผักชนิดแรกที่เด็กเริ่มหัดกิน ยิ่งเด็กแรกเกิดเมื่อได้กินแล้วก็จะดีมาก เพราะจะช่วยในเรื่องระบบย่อยอาหารให้แก่เด็กได้ แถมช่วยบำรุงร่างกายได้อย่างดีอีกด้วย เราจะเห็นฟักเขียวได้ทั่วไปตามท้องตลาด และเป็นผักที่สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างดี แถมมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
สรรพคุณ : คนไทยจะนำผลฟักเขียวมาประกอบอาหารโดยการใส่ในแกง ต้ม ผัดต่างๆ บ้างทำเป็นขนมหวานในเทศกาล แต่เมนูยอดนิยมคงจะเป็นแกงเขียวหวานไก่ฟักเขียว แกงจืดฟักต้มกับไก่ แกงเลียง ฟักเขียวผัดกับหมูใส่ไข่ ฟักเชื่อม รวมถึงยอดอ่อนที่นำมาลวก หรือต้มกะทิ กินกับน้ำพริกได้ มีรสชาติอร่อยไม่แพ้ผักอื่นเหมือนกัน
ทั่วโลกใช้ผลฟักเขียวกินได้ทั้งดิบและสุก ใช้เป็น ผัก ดอง ปรุงแกงเผ็ด หรือกวนแยม กินได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่
ผลอ่อนจะรสเข้มกว่าผลแก่ เนื้อผลจะมีน้ำมาก สามารถเก็บรักษาผลได้นานเป็นเดือนหรือค่อนปี เพราะมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ภายนอก ใบอ่อนและตาดอกกินโดยการนึ่งใช้เป็นผัก หรือใส่ในแกงจืดเพิ่มรสชาติ เมล็ดทำให้สุกแล้วกินได้ อุดมไปด้วยน้ำมันและโปรตีน
สรรพคุณทางยา :
ใบ แก้ฟกช้ำ แก้พิษผึ้งต่อย ช่วยรักษาบาดแผล แก้โรคบิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้บวมอักเสบมีหนอง
ผล ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิตเป็นพิษ บวมน้ำ หลอดลมอักเสบ
เมล็ด ใช้ลดไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไตอักเสบ บำรุงผิว ละลายเสมหะ
ราก ต้มดื่มแก้ไข้ แก้กระหายน้ำ ถอนพิษ
เถาสด รสขมเย็น ใช้รักษาริดสีดวงทวาร มีไข้สูง
เปลือก เป็นยาแก้บวม ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย แผลบวมอักเสบ มีหนอง
ในตำรายาจีนบอกว่า เปลือกชั้นนอกของฟักเขียว ที่ตากแดดให้แห้งแล้วนำมารวมกับ เยื่อหุ้มถั่วแระ เต็งซัมฮวย (ดอกต้นกก) น้ำตาลกรวด นำมาล้างรอให้สะเด็ดน้ำจนแห้งใส่ในหม้อดิน เติมน้ำพอประมาณ ต้มด้วยไฟแรงประมาณ 1 ชั่วโมง กรองเอาน้ำแช่ตู้เย็นเก็บไว้จะเป็นยา ขับปัสสาวะ แก้บวม บำบัดอาการบวมน้ำ ขัดเบา แก้ร้อนใน คอแห้ง ทุก ส่วนของฟักเขียวนอกจากจะเป็นยารักษาโรคแล้ว ส่วนที่นำมาเป็นอาหารยังให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดีเยี่ยม ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน และวิตามินซี ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย

 ขอขอบคุณ ข้อมูลประกอบจากเว็บ Wiparat Food ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น