วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร SriJomThong Woravihan Temple


          การเดินทางไปวัดนี้ไปโดยบังเอิญ เพราะระหว่างที่จะไปน้ำตกแม่ยะ ด้วยตั้งใจจะไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวแบบอื่นระหว่างที่ทำหนังสือขอให้หน่วยงานราชการสนับสนุนการบันทึกเรื่องวัดในเชียงใหม่ของข้าพเจ้า(รอสัก2อาทิตย์หากไม่มีก็จะทำเองและแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานราชการไม่สนใจจะบันทึกรากเหง้าของตัวเองเลย) ปรากฎว่าหลงทางไปเจอสี่แยกไฟแดงตรงข้ามซอยที่ข้าพเจ้าทะลุ ข้างหน้ามีลานจอดรถใหญ่ๆ มีรถทัวร์กับรถจอดเต็มไปหมด ด้วยความสงสัยอันเป็นนิสัย(ที่ดี..หรือเปล่า) ก็เลยข้ามไปดูซะหน่อยว่าตรงนั้นมีอะไรกันแน่  ก็เลยรู้ว่าตรงนั้นคือพระธาตุศรีจอมทอง เหมือนมีอะไรดลใจให้หลงไปเจอและไปบนทึกภาพที่นั่้่น พอไปก็เลยรู้ว่าเป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีชวด(ถ้าจำไม่ผิดนะ) ข้างหน้ามีเจดีย์ทรงพม่าอยู่ คงสร้างช่วงที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า แต่พระธาตุเป็นทรงเดิม โชคดีที่พม่าไม่สร้างทับ ภายในวิหารประดับด้วยลายคำงดงามมากเป็นลายคำที่ละเอียดจริงๆ ขนาดโครงสร้างหลังคาก็ยังเป็นไม้ การเข้าไม้เป็นแบบโบราณทั้งหมดคือใช้ไม้ตอกแทนตะปู ส่วนที่เพิ่มใหม่น่าจะเป็นลายคำบนโครงสร้างไม้ซึ่งละเอียดและงดงามมาก เพราะประดับอยู่ทุกส่วนของโครงสร้าง น่าจะสร้างหรือบูรณะขึ้นใหม่ เพราะสภาพยังดีอยู่มาก นี่คงจะเป็นเหตุผลให้อะไรดลใจให้ฉันหลงทางมาบันทึกภาพที่นี่ในช่วงที่สวยงาม และทุกอย่างสมบูรณ์ที่สุด  ข้างหลังเป็นสำนักปฏิบัติธรรม ส่วนพิพิธภัณฑ์กำลังสร้างยังไม่เสร็จ เจ้าอาวาสบรรยายธรรมะตลอดเวลา ทำให้ได้รับธรรมะไปด้วย ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของวัดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพราะนอกจากคนมาเที่ยว จะได้ทำบุญ ได้เที่ยวชมสถานที่แล้ว ยังได้รับพระธรรมจรรโลงใจพร้อมกันไปด้วย
          ลายคำภายในวิหาร ซึ่งประณีตมากเพราะ เป็นลายประดับทุกส่วนที่เป็นโครงสร้างไม้แบบโบราณของล้านนา(ไม่ใช้ตะปู)
 
 ลายปูนปั้นซุ้มพระในวิหาร สวยงามและละเอียดมาก แต่ไม่ได้สัมภาษณ์ก็เลยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง

  
นาคตรงประตูทางเข้าสถานวิปัสนาของวัด(อยู่ทางทิศใต้) ต้องชื่นชมจินตนาการของช่างจริงๆ ไม่ทราบชื่อช่างจริงๆ คราวหน้าต้องสัมภาษณ์ให้ได้ไม่ว่าส่วนราชการจะสนับสนุนให้บันทึกหรือไม่ นาค2ตัวนี้หน้าตาไม่เหมือนกันแต่โผล่ออกมาจากดินเหมือนกัน


ขอบคุณ wiki สำหรับข้อมูล
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ แต่จากซุ้มประตูทางเข้าทางขวามือจะมีเจดีย์รูปทรงพม่าอยู่ คงสร้างช่วงที่ล้านนาอยู่ในอาณานิคม
                                      

ความสำคัญ

พระธาตุศรีจอมทอง อยู่ใน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060

[แก้] การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ [1]

[แก้] สำนักวิปัสสนากรรมฐาน หนเหนือ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน หนเหนือ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มีพระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ให้การสอน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และมีการจัดให้สอบอารมณ์ ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)

การเดินทาง

จากตัวเมืองเชียงใหม่ควรเที่ยววัดพร้อมกับสถานที่อื่นที่อยู่ในเส้นทางเดียวกันเพราะการเดินทางจากเชียงใหม่มาวัดนี้ใกลมาก เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาควรเที่ยวที่ือื่นด้วย เช่นน้ำตกแม่ยะ ซึ่งอยู่เส้นทางเดียวกัน จากตัวเมืองเดินทางผ่านหน้าเซ้นทรัลแอร์พอร์ตตรงดิ่งผ่านไฟแดงทุกแห่งไปทางทิศใต้ จนถึงทางแยกเลี้ยวขวาไปดอยอินทนนท์ ประมาณ1กม.จะมีทางเข้าไปน้ำตกแม่ยะ ให้เลี้ยวเข้าไป ตรงไปเรื่อยๆ ผ่านตลาดซึ่งอยู่ทางขวามือ ตรงไปอีกจะไปทะลุกับถนนเส้นใหญ่ที่เป็น4แยกไฟแดงข้ามไปก็เจอพระธาตุแล้ว เสร็จก็กลับมาเส้นทางเดิมไปเที่ยวน้ำตกได้อีก เพราะหลังจากเที่ยวพระธาตุเสร็จก็ร้อนมาก(ตอนเช้าอากาศคงเย็นแต่ประมาณเที่ยงจะร้อนมาก เพราะไม่มีต้นไม้บริเวณพระธาตุ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น