วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยว อ.จอมทอง

 จะไปเที่ยวอ.จอมทองไปดูลิ้งเว็บนี้ดีกว่ามีครบถ้วนและบรรยายค่อนข้างละเอีอดค่ะ เว็บอินทนนท์ดอทคอม

น้ำตกในอ.จอมทอง

1.  น้ำตกแม่ยะ จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร

 

2.น้ำตกแม่กลาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปอีก 8 กิโลเมตร แยกซ้าย 500 เมตร เป็นทางลาดยางตลอด

3.น้ำตกแม่เตี๊ยะ อยู่ที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จากเชียงใหม่โดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอจอมทอง เลี้ยวขวาข้างที่ว่าการอำเภอ หรือเลี้ยวขวาข้างวัดสบเตี๊ยะ มีระยะทางโดยรวม 15 กิโลเมตร

 

4.น้ำตกวชิรธาร เดิมชื่อ ตาดฆ้องโยง จากเชิงดอยอินทนนท์ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 21 จะเห็นป้ายบอกทางแยกขวาเข้าน้ำตก ลงไป 500 เมตร ถนนจะถึงที่ตัวน้ำตก อีกเส้นทางหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเดิมอยู่เลยจาก ทางแยกแรกไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามป้ายและเดินจากลานจอดรถ ลงไปอีก 351 เมตร หากใช้เส้นทางนี้จะได้สัมผัสกับงามของธรรมชาติรอบด้าน ตลอดทางเดิน

5.น้ำตกสิริภูมิ (เป็นน้ำตกสองสายตกจากผาสูง เดิมเรียกน้ำตกนี้ว่าน้ำตกสองพี่น้อง ตั้งอยู่โครงการหลวงขุนกลาง สวยงามอย่างมาก)  

6.น้ำตกสิริธาร เป็นน้ำตกซึ่งไหลมาจากหน้าผาสูงชัน เป็นทางยาวสวยงามมาก สามารถมองเห็นได้จากถนนขึ้นดอยอินทนนท์ตรงที่ทำการอุทยานฯ จะเห็นเป็นสายน้ำตกแฝดไหลลงมาคู่กันแต่เดิมเรียกว่า เลาลี ตามชื่อของหมู่บ้านม้ง (แม้ว) เลาลี ซึ่งอยู่ใกล้ๆ น้ำตก น้ำตกสิริภูมิตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่รถไม่สามารถเข้าไปใกล้ตัวน้ำตกได้ นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าเข้าไปบริเวณด้านล่างของน้ำตก จากเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 (เชียงใหม่-จอมทอง) ก่อนถึงอำเภอจอมทองเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 1009 (จอมทอง-ยอดดอย) ถึงกิโลเมตรที่ 31 มีทางแยกขวามือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ เล็กน้อย เป็นลาดยางเข้าไปถึงน้ำตกสิริภูมิ ระยะทาง 8 กิโลเมตร

7.น้ำตกแม่ปาน (ตั้งอยู่เขตกิ่วแม่ปานเส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยอิทนนท์) จากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 1009 ตรงด่านตรวจกิโลเมตรที่ 38 ไปตามเส้นทางสายอินทนนท์-แม่แจ่ม (ทางหลวงหมายเลข 1192) ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตก แยกเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง

8.  น้ำตกทรายเหลือง อยู่บริเวณเชิงดอยอินทนนท์ ห่างจากที่ว่าการอําเภอแม่แจม ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร น้ำตกแม่ปานการเดินทางจากทางหลวงหมายเลข 1009 ตรงด่านตรวจกิโลเมตรที่ 38 ไปตามเส้นทางสายอินทนนท์-แม่แจ่ม(ทางหลวงหมายเลข 1192) ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตกแยกเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร จะถึงที่จอดรถ ซึ่งทางอําเภอได้ทําป้ายไว้สําหรับอํานวยความสะดวกแก่นักทองเที่ยว จากนั้นจะต้องเดินทางไปตามทางเดินอีกประมาณ 10 นาทีจึงจะถึงตัวน้ำตกแม่ปาน

 -ถ้ำ้บริจินดา ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8.5 ของทางหลวงหมายเลข 1009 จะเห็นทางแยก ขวามือมีป้ายบอกทางไปถ้ำบริจินดา ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร ใกล้กับน้ำตกแม่กลาง

-ดอยหัวเสือ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ทำการอุทยานฯเส้นทางนี้เป็นเส้นทางนัก เดินทางที่ค่อนข้างยาว เป็นการเดินทางขึ้นลงเขาเส้นทางจะเป็นแบบ One Way ไม่ย้อนกลับทางเดิม หน้าฝนมีทาก

-ถ้ำตุ๊ปู่ อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบ กว้างยาวประมาณ 1x1.5 เมตร ต้องนั่งยองๆเข้าไป ภายในกว้างขวางรูปร่างค่อนข้างกลมเหมือนคนโทขนาดใหญ่ มีน้ำหยดจากเพดานถ้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ตรงเพดานค่อนข้างไปทางก้นถ้ำทะลุเป็นวงกลมใหญ่ๆ 3 ช่องติดกัน จึงทำให้ถ้ำสว่างไสวไม่มืดทึบเหมือนถ้ำโดยทั่วไป

-กิ่วแม่ปาน  เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ ทางเข้าอยู่กิโลเมตรที่ 42 ด้านซ้ายมือ ระยะทางเดิน 3 กิโลเมตร ระหว่างทางเดินจะพบป่าดิบเขา (Hill Evergreen) ก่อนผ่านเข้าสู่ทุ่งหญ้าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ป่าถูกทำลายหลังจากนั้นทางเดินจะเลาะริมผา สองข้างจะพบดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron บานช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ การใช้เส้นทางนี้ต้องลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตให้ใช้เส้นทางจากหัวหน้าอุทยานฯ และควรจัดกลุ่มละไม่เกิน 15 คน ไม่อนุญาตให้เข้าไปท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี

- น้ำตกแม่จอนอยู่ในเขตตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายฮอด-แม่สะเรียง ตรงกิโลเมตรที่ 9 เดินตามลำห้วยแม่จอนเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ 

-ถ้ำตอง อยู่ตำบลบ้านแปะ  "ดอยผาเลียบ" เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนถูกผ่าครึ่งแล้วแยกกันอยู่คน ละฝั่งลำน้ำแม่แปะ ซีกที่อยู่ทางฝั่งขวามีถ้ำลึกที่มีตำนานว่า ถ้ำนี้เป็นอุโมงค์หินที่มีความยาวทะลุถึงดอยเชียงดาว บริเวณปากอุโมงเป็นคูหา สูง 3 เมตร ลึกเข้าไปจากนั้นเป็นโพรงหินเล็กๆขนาดพอตัวคนคลานเข้าไปได้ สภาพภายในคูหาปากถ้ำถูกสกัดตกแต่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนัก วิปัสสนาถ้ำตอง ต้นแม่น้ำแปะห่างจากถ้ำตองขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตรมีน้ำตกเล็กๆ เรียกว่า น้ำตกวังคำ

- วัดพระธาตุดอยน้อย วัดพระธาตุดอยน้อย เป็นวัดโบราณที่เก่าแก่อายุกว่า 1,300 ปี และมีประวัติว่าก่อสร้างโดยพระนางจามเทวี เมื่อปี พ.ศ. 1201 วัดพระธาตุดอยน้อยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย ได้แก่ พระบรมธาตุ โขงพระ (กรุพระ) โบสถ์ วิหารและพระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลัก ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่มากมาย บริเวณวัดตั้งอยู่บนภูเขา ติดลําน้ำปิง มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกทิศ ทุกทาง ดูแล้วสวยงาม วัดพระธาตุดอยน้อยตั้งอยู่ที่ตําบลดอยหล่อ อําเภอจอมทอง การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 108 ตรงกิโลเมตรที่ 43-44 วัดพระธาตุดอยน้อย

 

- วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

อำเภอจอมทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอจอมทอง
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอจอมทอง
อินทนนท์สูงเด่น ร่มเย็นองค์พระธาตุ น้ำตกสวยสะอาด เชิดชูศาสน์ไม้ค้ำโพธิ์
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอจอมทอง
อักษรโรมัน Amphoe Chom Thong
จังหวัด เชียงใหม่
รหัสทางภูมิศาสตร์ 5002
รหัสไปรษณีย์ 50160
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 712.297 ตร.กม.
ประชากร 79,976 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 114.9 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอจอมทอง เลขที่ 156 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160
พิกัด 18°25′2″N, 98°40′33″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 5334 1177
หมายเลขโทรสาร 0 5334 1177

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
อำเภอจอมทอง เป็นอำเภอขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 110 ปี อำเภอจอมทองเป็นอำเภอที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์สวยงาม มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม จึงทำให้อำเภอจอมทองเป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเกือบ 2 ล้านคน ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศ ไทย
อำเภอจอมทองมีภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยในการรองรับความเจริญจากเมือง เชียงใหม่ ปัจจุบันอำเภอจอมทองเป็นอำเภอศูนย์กลางความเจริญทุกๆ ด้านในเขตเชียงใหม่ตอนใต้และทางตอนใต้ของจังหวัดลำพูนรวมถึงทางตอนใต้ของ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเจอมทองป็นศูนย์การศึกษา มีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง วิทยาลัยการอาชีพ 1 แห่ง มีโรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในเขตพื้นที่ เชียงใหม่ตอนใต้ ในด้านการสาธารณสุข มีโรงพยาบาลจอมทองเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ตอนใต้ ด้านการท่องเที่ยวอำเภอจอมทองมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียง ได้แก่ ยอดดอยอินทนนท์จุดที่สูงสุดของประเทศและน้ำตกต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าแสงดาที่บ้านไร่ไผ่งามและแหล่งผ้าฝ้ายทอมือในเขตตำบลสบเตี๊ ยะ อุทยานแห่งชาติออบหลวง รวมถึงประเพณีแห่ไมค้ำโพธิ์ในช่วงสงกรานต์ เป็นต้น ในด้านการพาณิชย์ การค้า การลงทุน อำเภอจอมทองมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า โรงแรม รีสอร์ท อสังหาริมทรัพย์ ปัจจุบันมีสถานประกอบการในจอมทองมากกว่า 1,000 แห่ง อำเภอจอมทองนับว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว นับเป็นเมืองสำคัญในแง่ของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ [1]

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ประวัติ

  • ตำนานก่อนพุทธกาลก่อนมาเป็นเมืองจอมทอง
ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทอง ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และ มีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “ เมืองอังครัฏฐะ ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “ บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย ” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และ ทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา ( พระทักษิณโมลี ) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้ ” แล้วเสด็จกลับส่วน พระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนม์มายุของพระองค์ ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา ทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบ ดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้ กาลหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จไปสู่ดอยจอมทอง และทรงได้สั่งขุดคูหาให้เป็นอุโมงค์ใต้พื้นดอยจอมทอง แล้วให้สร้างสถูปทองคำไว้ภายในคูหาและยังหล่อพระพุทธรูปทั้งเงินและทอง ตั้งไว้รอบสถูปนั้นแล้ว เอาพระบรมธาตุเจ้าที่อยู่ในสถูป ที่พระยาอังครัฏฐะ ให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปไว้ในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้ดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหิน ปิดปากถ้ำคูหาเอาไว้ แล้วทรงอธิษฐานว่า “ ต่อไปข้างหน้า ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ผู้ชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา แล้วพระองค์จึงเสด็จกลับเมืองปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย ต่อมาหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปริพนิพพานแล้ว 813 ปี หรือเมื่อ พ . ศ .1994 สามีภรรยาคู่หนึ่งชื่อนายสอยและนางเม็ง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ดอยจอมทองและเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนาอย่างยิ่ง สามีภรรยาทั้งคู่ได้แผ้วถางบริเวณยอดดอย พร้อมทั้งสร้างเจดีย์และพระพุทธรูป ๒ องค์ ไว้บนดอยจอมทองซึ่งผู้คนได้พบเห็นจึงเรียกว่า ” วัดศรีจอมทอง ” การสร้างวัดยังไม่เสร็จดี นายสร้อย นางเม็ง ก็ได้ถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๐๐๙ มีชายสองคน ชื่อ สิบเงิน และ สิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะก่อสร้างวัดศรีจอมทอง ให้เป็นรูปเป็นร่าง มีพระวิหารมุงด้วยคาหลังหนึ่ง และ ได้นิมนต์พระภิกษุชื่อ ” สริปุตต์เถระ ” มาเป็นเจ้าอาวาส และท่านเจ้าอาวาสก็ได้ปฏิสังขรณ์วิหารให้มั่นคงแข็งแรงใช้ไม้ระแนงและ กระเบื้องมุงหลังคา จากนั้นหลังจากที่เจ้าอาวาสได้มรณภาพไป ต่อจากนั้นก็มีเจ้าอาวาสองค์ต่อๆมาได้สร้าง ปราสาทเฟื่อง และ ระเบียงหน้ามุขหลังวิหาร เพื่อเป็นที่ไว้พระพุทธรูป และ ยังก่อกำแพงรอบพระวิหารทั้ง 4 ด้าน พร้อมทั้งสร้างกุฎิเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ และ ก็ ช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอยู่เสมอ กาลล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๐๔๒ สมัยนี้ พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้มีตาปะขาวคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่วัดนั้นเกิดนิมิตฝันว่า เทวดาได้มาบอกว่าใต้พื้นวิหารบนยอดดอยที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระ พุทธเจ้า และ พระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการะบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันนั้นให้แก่เจ้าอาวาสฟัง เจ้าอาวาสจึงได้ทำการอธิษฐานจิตว่า “ ถ้ามีจริงดังความฝันนั้น ขอให้พระบรมธาตุจงได้เสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงได้ไหว้สักการบุชาพระบรมธาตุนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้เห็นและได้สักการบูชาแล้ว ขออย่าให้ข้าพเจ้าสิ้นชีวิตไปเสียก่อนเลย ” ครั้นอธิษฐานแล้ว จนล่วงมาถึงปีจุลศักราช 861 ปีพ.ศ. 2042 เดือน 4 ขึ้น 14 ค่ำ พระบรมธาตุเจ้า ก็เสด็จออกจากพระสถูปทองคำ ซึ่งก็แสดง ปฏิหาริย์ เป็นมหัศจรรย์ต่าง ให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แล้วในวันรุ่งขึ้นพระธมมปัญโญเถระกับตาปะขาวก็ได้พบพระบรมธาตุเจ้าอยู่ในรู พระเกศโมลีของพระพุทธรูป ซึ่งตั้ง ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารนั้น จึงได้เก็บรักษากันไว้โดยเงียบ ๆ และ รู้กันเพียงแค่ตาปะขาวและเจ้าอาวาสเท่านั้น เมื่อพระบรมธาตุเสด็จออกมาจากคูหา ปรากฏแก่คนภายนอกแล้ว พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาส ได้เก็บพระธาตุรักษาไว้ในช่องพระโมลีพระพุทธรูป หลังจากนั้นก็มีพระอานันโทเป็นเจ้าอาวาสองค์ถัดมา และก็มี พระเหมปัญโญ พระญาณมงคล พระพุทะเตชะ พระอรัญวาสี พระธัมมรักขิต พระไอยกัปปกะ กาลล่วงมาถึง พ.ศ. 2057 สมัยของพระมหาสีลปัญโญเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจอมทอง มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระมหาพุทธญาโณ ท่านไปยังเมืองพุกามและได้ตำนานพระบรมธาตุมาจากเมืองพุกาม และ ได้พิจารณาจากตำนานจึงคาดคะเนว่าพระบรมธาตุน่าจะตั้งอยู่ที่วัดศรีจอมทองแน่ จึงได้สั่งให้พระอานันทะ และ ปะขาวนักบุญทั้งหลาย ให้ไปที่วัดศรีจอมทอง และ หากไปถึงวัดให้ทุกคนทำการสักการบูชาดอกไม้ธูปเทียนและให้ตั้งสัตยาธิษฐาน หากว่าพระบรมธาตุตั้งอยู่ในที่นั้นจริงดังตำนานกล่าว ขอพระบรมธาตุจงแสดงปฏิหาริย์เป็นอัศจรรย์ต่างๆให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วย เทอญ เมื่อพระอานันทะได้ไปถึงวัดศรีจอมทองแล้วก็ได้ทำการเคารพสักการบูชา และ ตั้งสัตยาธิษฐานตามที่พระพระพุทธญาโณสั่งทุกประการ ซึ่ง ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญ เจ้าอาวาสเมื่อได้เห็นอาการของคนเหล่านั้นเช่นนั้นจึงได้นำเอาพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษากันต่อมานั้นออกมาแสดง ให้พระอานันทะและปะขาวนักบุญทั้งหลายเหล่านั้นได้เคารพสักการบูชา
  • ความเป็นมาแห่งพระบรมธาตุเจ้าในกาลต่อมา
พระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) กษัตริย์แห่งล้านนา เมื่อได้ทราบความที่ พระมหาพุทฺธญาโณว่า “ พระบรมธาตุเจ้าได้เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ภายในอาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์เช่นนั้นแล้ว ” ก็มีพระทัยยินดีปิติปราโมทย์เป็นกำลัง จึงรับคำสั่งแก่พระมหาพุทฺธาญาโณเถระว่า “ ขอพระคุณเจ้าจงไปจัดการเรื่มปฏิสังขรณ์ปลูกสร้างพระวิหารหลังหนึ่ง ให้เป็น ๔ มุขเหมือนวิหารวัดชัยศรีภูมิ แล้วได้ก่อปราสาทหลังหนึ่งให้เหมือนปราสาทอันมีอยู่ในพระอุโบสถวัดมหาโพธิ์ หลวง ( วัดเจ็ดยอด) ไว้ภายในท่ามกลางพระวิหารนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า ให้เป็นอัครสถานอันประเสริฐต่อไป ” ดังนี้ แล้วทรงประทานเงินหมื่นหนึ่งเพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ในการก่อสร้าง พระเถระเจ้ารับคำพร้อมด้วยปะขาวนักบุญ และนายช่างทั้งหลายไปสู่วัดพระธาตุศรีจอมทอง แล้วร่วมกับเจ้าอาวาสเริ่มการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาท ในปีชวดอัฏฐศก พ.ศ. ๒๐๖๐ ตามแบบที่พระเมืองแก้วมีพระราชโองการนั้นทุกประการ เมื่อการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาทสำเร็จบริบูรณ์แล้ว พระเถระจึงไปทูลถวายพระพรให้พระองค์ได้ทรงทราบ พระเมืองแก้วมีใจยินดีมากนัก จึงรับสั่งให้สุวรรณช่างทองสร้างโกศทองคำน้ำหนักได้ ๕๖๐ คำ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุและพร้อมด้วยเถรานุเถระ เ สนาอำมาตย์ชาวบ้านชาวเมืองออกไปทำมหกรรมฉลองเป็นมหาปางใหญ่ แล้วเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าไว้ในโกศทองคำตั้งไว้ภายในปราสาทนั้นแล้ว ทรงโปรดพระราชทานวัตถุไทยทานและเครื่องแห่ไว้กับพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก และถวายข้าคนไร่นาตามเขตป่า ที่ดิน ย่านน้ำ ไว้สำหรับให้ปฏิบัติรักษาทำนุบำรุงพระบรมธาตุให้เจริญถาวรสืบต่อไปตลอด ๕๐๐๐ พระวัสสา ส่วนพระมหาสีลปัญดญเถระ ผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองได้อยู่อุปฐากรักษาทำนะบำรุงพระธาตุ เจ้าได้ 15 พรรษาก็มรณภาพไป ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชา ได้มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ 36 พรรษา ก็มรณภาพไป ต่อจากนั้นพระสังฆราชาญาณมังคละมาเป็นเจ้าอาวาสได้ 12 พรรษา ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชาชวนปํญโญโสภิตชิตินทริยวโสจากวัดหัวครั้งหลวงมา อยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ 10 พรรษาก็มรณภาพไป และพระมหาสามิคณาจิตตะผู้เป็นศิษย์ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสแทนต่อมา ปีพ.ศ. 2100 ปีมะโรงเดือน 4 ทายกทายิกาศรัทธาทั้งหลาย ได้ไปนิมนต์พระมหาสังฆราชาญาณมงคละอยู่แคว้นทุ่งตุ๋มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระ ธาตุศรีจอมทอง ในสมัยพระนางวิสุทธเทวีพร้อมด้วยพระอัครพระราชมารดา มีจิตศรัทธานิมนต์พระบรมธาตุจอมทองเข้าไปในเมืองเชียงใหม่มีความเลื่อมใส ยินดีในพระบรมธาตุเจ้ายิ่งนักจึงถวายไทยทานเป็นอันมาก จึงมีรับสั่งแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง 4 คือพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้าน พระยาเด็กชาย ว่าต่อแต่นี้ไป บรรดาข้าพระธาตุเจ้าจอมทองให้ยกเว้นอย่าได้ใช้สอยเก็บส่วย และ เกณฑ์ไปทำการบ้านเมืองเข้าอยู่อุปัฎฐากพระบรมธาตุเจ้าทุกวันคืนอย่าได้ขาด ดังที่ พระรัตนราชหากได้ประธานไว้นั้นทุกประการ
  • ถึงปีขาล เดือน 3 ใต้ เดือน 5 เหนือ พญาสามล้านไชยสงครามได้มีจิตศรัทธามาใส่ช่อฟ้า ปั้นลมวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง และสร้างถนนจากวัดไปถึงฝั่งน้ำปิงและถวายคนไว้เป็นข้าพระรัตนตรัย ลงอาญาหาบเงินตราหินไว้เป็นหลักฐาน
  • ถึงปี พ.ศ. 2112 พระเจ้ามังธาเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา) พระเจ้าแผ่นดินพม่า ได้ยกทัพมาปราบล้านนาไทยเชียงใหม่ใว้ในอำนาจ ได้ริบเอาทรัพย์ของพระศาสนาไปและ บ้านเมืองเชียงใหม่ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
  • ถึงพ.ศ. 2182พระเจ้าสุทโธธรรมราชา พระเจ้าแผ่นดินพม่าได้ตกแต่งเคริ่องวัตถุไทยทาน มาถวายบูชาพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง ตามเยี่ยงอย่างเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่หากได้เคยถวายทานมาแล้วแต่หนหลัง
  • ถึง พ.ศ. 2314 ปีขาล โทศก เดือน 5 แรม 11 ค่ำ วันจันทร์ พระบรมธาตุเจ้าองค์ประเสริฐก็อันตรธานสูญหายไป นับแต่นั้นมาถึงปีมะแมศก จุลศักราชล่วงได้ 1136 พ.ศ. 2318 กษัตริย์เมืองอยุธยา ยกพลโยธา มารบกับพม่าที่เมืองนครเชียงใหม่ได้ชัยชนะแล้วยกพลไปสู่นครหริภุญชัย นมัสการพระธาตุหริภุญชัยแล้ว จึงแต่งตั้งให้พระยาจ่าบ้านเป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวิเชียรปราการ เมืองเชียงใหม่จึงได้หลุดจากพม่ามาขึ้นกับไทยกลางส่วนใหญ่ตลอดมาจนทุกวันนี้
  • ถึง พ.ศ. 2322 พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มาคำนึงถึงพระบรมธาตุเจ้าจอมทององค์ประเสริฐ อันได้สูญหายไปแต่ พ.ศ. 2314 นั้น จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อจะได้นำไปเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุเจ้า แล้วจึงรับสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย ไปทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าตามราณประเพณีเป็นครั้งแรกก่อน พระบรมธาตุก็ยงไม่เสด็จมา และ ได้อาราธนาอีก 2 ครั้ง จนถึงแรม 4 ค่ำเวลาก๋องงาย ( 19.00 น) พระบรมธาตุเจ้า ก็ได้เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาท ตามคำอธิษฐาน จากนั้นพระยาวิเชียรปราการเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเข้า ไปในเมืองเชียงใหม่ ทำการสระสรง และ ถวายทานต่างๆ นาน 7 วัน 7 คืน แล้วจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอม ทองตามเดิม
  • หลังจากนั้นก็มีกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อีกหลายพระองค์ได้มา บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุศรีจอมทอง รวมไปถึง การสร้างโกศเงินโกศทอง
เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ นอกจากนี้ยังมีการอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าไปในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านชาวเมืองได้สักการบูชา เสร็จแล้วก็อัญเชิญกลับมาที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม และ ในปีพ.ศ. 2465 เจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พร้อมด้วยพระราชชายาในรัชกาลที่ 5 (เจ้าดารารัศมี) ได้รับสั่งพระนายกคณานุการให้จัดการ ปฏิสังขรณ์ พระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง ถึงเดือน 7 วันเพ็ญ จึงได้พร้อมกันทำบุญถวายทานฉลองพระวิหารเป็นมหาปางอันใหญ่ พร้อมทั้งสระสรงพระบรมธาตุเจ้าด้ยสันโธทกเป็นมโหฬารยิ่งในกาลนั้นแล[2]
  • อำเภอจอมทอง มีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องเกี่ยวกับตำนานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารเดิม ที่ตั้งวัดพระธาตุฯ เป็นเนินเขาเล็กๆ คล้ายจอมปลวกหรือหลังเต่า มีป่าไม้ทองกวาวและทองหลางอยู่บนเนิน จึงเรียกวา “ดอยจอมทอง”ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมาที่ดอยแห่งนี้ และอัญเชิญพระทักษิณโมลีธาตุพระเศียรเบื้องขวาของพระเจ้า ซึ่งมีขนาดเท่าเม็ดพุทธา รวมพระบรมธาตุย่อยอีกเจ็ดองค์เข้าสู่โกศเพชรและอัญเชิญประดาษฐานไว้ในคูหา ใต้ดอยจอมทอง ในปี พ.ศ. 1994 ได้มีการก่อสร้างวัดขึ้นบนดอยจอมทองแล้วเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุจอมทอง”เมื่อได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร” เมื่อปี พ.ศ. 2443 ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นและตั้งชื่อว่า “อำเภอจอมทอง” โดยใช้ชื่อเรียกตามตำนานวัดพระธาตุจอมทอง

[แก้] แนะนำ แหล่งข้อมูล รูปภาพอำเภอจอมทอง

http://www.facebook.com/CT108.CM

[แก้] คำขวัญของอำเภอ

"อินทนนท์สูงเด่น ร่มเย็นองค์พระธาตุ น้ำตกสวยสะอาด เชิดชูศาสน์แห่ไม้ค้ำโพธิ์"
  • อินทนนท์สูงเด่น ดอยอินทนนท์เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2565 เมตร ปัจจุบันเป็นสถานที่สำคัญของประเทศ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มาเที่ยวปีละหลายล้านคน เป็นสถานที่ที่งดงาม มีถ้ำ น้ำตก ภูเขา ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว อาทิ เช่น น้ำตกแม่กลาง น้ำตกแม่ยะ น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกวชิรธาร ถ้าบริจินดา ดอยหัวเสือ กิ่วแม่ปาน เป็นต้น
  • ร่มเย็นองค์พระธาตุ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวจอมทองมาช้านาน นับได้ 560 ปี เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์สายวิปัสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพอย่าง สูงจากพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทำให้วัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นจุดที่พุทธศาสนิกชนเดินทางมาเคารพสักการะกราบ ไหว้พระบรมสารีริกธาตุและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ท่านเจ้าคุณเป็นจำนวนมากมาย ในแต่ละปี
  • น้ำตกสวยสะอาด จอมทองถือว่าเป็นอำเภอที่มีน้ำตกมากที่สุดอำเภอหนึ่งของประเทศ มีน้ำตกน้อยใหญ่ทางทิศตะวันตก ที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และอุทยานแห่งชาติออบหลวง อาทิ เช่น น้ำตกแม่ยะ (เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศมาก่อน) น้ำตกแม่กลาง (น้ำตกขนาดใหญ่ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว) น้ำตกแม่เตี๊ยะ (เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดของประเทศไทย) น้ำตกวชิรธาร (เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีประกายรุ้งทอแสงสวยงามอย่างมาก) น้ำตกสิริภูมิ (เป็นน้ำตกสองสายตกจากผาสูง เดิมเรียกน้ำตกนี้ว่าน้ำตกสองพี่น้อง ตั้งอยู่โครงการหลวงขุนกลาง สวยงามอย่างมาก) น้ำตกสิริธาร (เป็นน้ำตกที่สวยงาม กำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว) น้ำตกแม่ปาน (ตั้งอยู่เขตกิ่วแม่ปานเส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยอิทนนท์) เป็นต้น
  • เชิดชูศาสน์แห่ไม้ค้ำโพธิ์ อำเภอจอมทองมีประเพณีที่สำคัญ คือประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ที่ชาวจอมทองปฏิบัติสืบทอดมายาวนานกว่า 200 ปี นิยมแห่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ถือเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของคนภาคเหนือ เริ่มถือปฏิบัติขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง ปัจจุบันกลายเป็นประเพณีที่แพร่หลายไปหลายพื้นที่ในอำเภอใกล้เคียงกับอำเภอ จอมทองและจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอจอมทองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

[แก้] ลักษณะทางภูมิประเทศ

ลักษณะพื้นที่อำเภอจอมทอง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบกว้าง ระหว่างริมฝั่งแม่น้ำปิง และน้ำแม่กลาง พื้นที่หุบเขาเชิงเขาทางทิศตะวันตก ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ลำไย สำหรับบริเวณภูเขาเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัย
สภาพพื้นที่ พื้นที่สูงทางตอนกลาง ที่ราบลุ่มทางทิศเหนือ และพื้นที่ภูเขาทางทิศตะวันตกของอำเภอ
ภูเขา ด้านตะวันตกมีเทือกเขาอินทนนท์ ซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,565.3341 เมตร กั้นเขตแดนระหว่างอำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่มโดยตลอด
แม่น้ำ มีลำน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำปิง ลำน้ำแม่กลาง ลำน้ำแม่แจ่ม ลำน้ำแม่เตี๊ยะ ลำน้ำแม่แต๊ะ และลำน้ำแม่สอย

[แก้] ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศพื้นที่อำเภอจอมทอง แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพาเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนลงมาปกคลุม ประเทศไทยตอนบน - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมฝ่ายใต้ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป อากาศมรสุมเมืองร้อน ช่วง พฤษภาคม - กันยายน มีฝนตกชุก ช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวและแห้งแล้ง อุณหภูมิประมาณ 9.7 องศา สูงสุดประมาณ 39.6 องศา [3][4]

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 100 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านหลวง

(Ban Luang)

23 หมู่บ้าน
2. ข่วงเปา

(Khuang Pao)

12 หมู่บ้าน
3. สบเตี๊ยะ

(Sop Tia)

21 หมู่บ้าน
4. บ้านแปะ

(Ban Pae)

20 หมู่บ้าน
5. ดอยแก้ว

(Doi Kaeo)

9 หมู่บ้าน
6. แม่สอย

(Mae Soi)

15 หมู่บ้าน

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอจอมทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

[แก้] สถานศึกษา

[แก้] ธนาคาร

  • 1. ธนาคารออมสิน สาขาจอมทอง
  • 2. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจอมทอง
  • 3. ธนาคารกสิกรไทย สาขาจอมทอง
  • 4. ธนาคารกรุงไทย สาขาจอมทอง
  • 5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาจอมทอง
  • 6. ธนาคารกรุงเทพ สาขาจอมทอง

[แก้] ห้างสรรพสินค้าในอำเภอจอมทอง

  • เทสโก้โลตัสจอมทอง

[แก้] ร้านค้าสำคัญในตัวอำเภอจอมทอง

  • บุ่งฮวดพาณิชย์
  • สยามทีวีจอมทอง
  • ห้างภู่พิสิฐจอมทอง ศูนย์รวมสิ่งก่อสร้างและสุขภัณฑ์
  • สยามทีวีจอมทอง
  • บิ๊กวันเซ็นเตอร์ ศูนย์รวมอุปกรณ์การเรียนและเครื่องเขียน
  • ปริญญา ศูนย์รวมอุปกรณ์การเรียนและเครื่องเขียน
  • ศรีสมบูรณ์ สาขา 1
  • ศรีสมบูรณ์ สาขา 2
  • พีทีเอส
  • ศูนย์เศรษฐกิจชุมชนเมืองกลาง
  • ศูนย์โอท็อบลานวัดพระธาตุศรีจอมทอง
  • อีซูสุจอมทอง
  • เงางาม สาขา 1
  • เงางาม สาขา 2
  • จอมทองฟาร์มาซี
  • เกรียงไกร
  • ศูนย์การค้าสมายเพลสจอมทอง (อยู่ในระหว่างก่อสร้าง)

[แก้] ตลาดที่สำคัญ

  • ตลาดสดเทศบาลตำบลจอมทอง
  • กาดแลงหน้อย
  • กาดเจ้าหน้อย
  • ตลาดโชคเจริญ
  • ตลาดแม่ดวงดีสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์
  • ตลาดจำหน่ายดอกไม้ พืชผัก ผลไม้เมืองหนาว ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของหมู่บ้านม้งขุนกลาง หลัก ก.ม.ที่ 33 ถ.จอมทอง - อินทนนท์
กาดนัด
  • กาดอังคาร ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอจอมทอง บนศูนย์การค้าสมายเพลส จอมทอง
  • กาดพุธ บ้านหนองช้าง และ บ้านห้วยน้ำดิบ
  • กาดผัด บ้านสบเตี๊ยะ และ บ้านสบแจ่มฝั้งซ้าย
  • กาดศุกร์ หน้าที่ว่าการอำเภอจอมทอง และบริเวณหน้าเทศบาลตำบลบ้านแปะ
  • กาดเสาร์ บริเวณบ้านสบเตี๊ยะ

[แก้] การคมนาคม

อำเภอจอมทองตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ บนถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ระยะทางห่างจากเชียงใหม่ 58 กิโลเมตร[5] เส้นทางเชื่อมต่ออำเภอจอมทอง
  • 1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 108 จากสามแยกท่าลี่ – สะพานข้ามฮอด ระยะทาง 41 กิโลเมตร (ปัจจุบันมีโครงการขยายถนนเป็น 4 ช่องการจราจรตลอดเส้นทาง ยกเว้น ตัวอำเภอจอมทอง ประมาณ 6 กิโลเมตรซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี2554)
  • 2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1009 จากสามแยกขึ้นดอยอินทนนท์ (จอมทอง) – แม่กลาง ระยะทาง 7.705 กิโลเมตร
  • 3. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1009 0202 จากแม่กลาง – ดอยอินทนนท์ ระยะทาง 38.995 กิโลเมตร
  • 4. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1010 จากท่าลี่ – ป่าซาง ระยะทาง 30 กิโลเมตร
  • 5. ทางหลวงชนบท บ้านหนองล่อง – ท่าศาลา
  • 6. ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน – ท่ามณี
  • 7. ทางหลวงชนบท แยกทางหมายเลข 1009 – บ้านเมืองกลาง
  • 8. ทางหลวงชนบท บ้านแท่นดอกไม้ – บ้านดงหาดนาค
  • 9. ทางหลวงชนบท บ้านสบเตี๊ยะ - บ้านแพะดินแดง
  • 10.ทางหลวงชนบท บ้านวังน้ำหยาด - บ้านแม่สอย
  • 11.ทางหลวงชนบท บ้านสบแปะ - ถ้ำตอง
  • 12.ทางหลวงชนบท บ้านทุ่งปูน-บ้านแม่เตี๊ยะ

[แก้] โครงการพัฒนาอำเภอจอมทอง

  • โครงการก่อสร้างขยายถนนเชียงใหม่-ฮอด เป็น 4 ช่องการจราจร ตั้งแต่ หน้าสถานีตำรวจภูธรจอมทอง อ.จอมทอง - สะพานข้ามน้ำแม่แจ่ม อ.ฮอด[6]
  • โครงการก่อสร้างหอดูดาวขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย บนยอดดอยอินทนนท์ [7]
  • โครงการพัฒนาผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง [8]
  • โครงการสร้างฝายน้ำล้นแม่สอย(ชลประทานขนาดใหญ่)กั้นแม่น้ำปิง โดยใช้ในการอุปโภค บริโภค รวมไปถึงแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอดและอำเภอดอยเต่า [9]

[แก้] แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

  • แหล่งดูนกบนดอยอินทนนท์
ศูนย์บริการข้อมูลนกอินทนนท์ (ร้านลุงแดง) ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 31 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ให้บริการด้านข้อมูลนกในดอยอินทนนท์ เช่น สมุดบันทึกการพบนกในดอยอินทนนท์ ภาพวาดลายเส้นของนักดูนกท่านต่างๆแผนที่เส้นทางดูนกดอยอินทนนท์ ภาพถ่าย สไลด์เกี่ยวกับนก ฯลฯ ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
  • กิ่วแม่ปาน
เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ ทางเข้าอยู่กิโลเมตรที่ 42 ด้านซ้ายมือ ระยะทางเดิน 3 กิโลเมตร เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการ สัมผัสธรรมชาติโดยแท้จริง ระหว่างทางเดินจะพบป่าดิบเขา (Hill Evergreen) ก่อนผ่านเข้าสู่ทุ่งหญ้าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ป่าถูกทำลาย เพื่อเป็นการศึกษาลักษณะการเกิดผลกระทบต่อเนื่องบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ ป่า สมบูรณ์กับพื้นที่ถูกทำลาย (edge effect) หลังจากนั้นทางเดินจะเลาะริมผา มีไอหมอกปลิวผ่านตลอดเวลา สองข้างจะพบดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron (ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ขึ้นตามป่าในระดับสูง มีพันธุ์ดอกสีขาวและสีแดง เวลาออกดอกช่วงแรกมีลักษณะเหมือนปลีกล้วย ก่อนที่จะบานเต็มต้นในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ พบมากในแถบเทือกเขาหิมาลัยและเป็นไม้ประจำชาติของเนปาลด้วย) มองลงไปยังเบื้องล่างจะพบทัศนียภาพที่งดงามของอำเภอแม่แจ่ม
การใช้เส้นทางนี้ต้องลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตให้ใช้เส้นทางจากหัวหน้า อุทยานฯ และควรจัดกลุ่มละไม่เกิน 15 คน ทางอุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหาร เข้าไปรับประทานในเส้นทาง และจะปิดเส้นทางเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว ไม่อนุญาตให้เข้าไปท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี
  • โครงการหลวงอินทนนท์
ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านขุนกลาง ตำบลห้วยหลวง อำเภอจอมทอง เดินทางตามเส้นทางสู่ ดอยอินทนนท์ ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าสู่โครงการฯ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร โครงการหลวงอินทนนท์ รับผิดชอบส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้แก่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และชาวเขาเผ่าม้งในพื้นที่ ผลิตผลหลักของโครงการ คือ ไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ เช่น คาร์เนชั่น เบญจมาศ สแตติส ยิบโซ เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชม แปลงปลูกดอกไม้ ห้องทดลองทำการเพาะขยายพันธุ์ และยังสามารถแวะชม แปลงปลูกดอกไม้ของชาวเขาในหมู่บ้านซึ่งอยู่บริเวณปากทางเข้าโครงการฯ ได้ด้วย
  • ถ้ำบริจินดา
เป็นถ้ำใหญ่อยู่ในเทือกเขาดอยอ่างกาหรือดอยอินทนนท์ ใกล้กับน้ำตกแม่กลาง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8.5 ของทางหลวงหมายเลข 1009 จะเห็นทางแยก ขวามือมีป้ายบอกทางไปถ้ำบริจินดา ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานถ้ำมีหินงอกหินย้อย หรือชาวเหนือเรียกว่า นมผา สวยงามมาก มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในถ้ำด้วย นอกจากนั้น ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุสามารถมองเห็นภายในได้ถนัด เพราะมีอุโมงค์ซึ่งแสงสว่างลอดเข้ามา บริเวณปากถ้ำจะมีป้าย ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ อธิบายประวัติการค้นพบถ้ำนี้
  • น้ำตกแม่กลาง
เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่ชั้นเดียว สูงประมาณ 100 เมตร ต้นน้ำอยู่บนดอยอินทนนท์ มีน้ำไหลตลอดปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ รอบๆ บริเวณร่มรื่นน่าพักผ่อน การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปอีก 8 กิโลเมตร แยกซ้าย 500 เมตร เป็นทางลาดยางตลอด
  • น้ำตกแม่เตี๊ยะ
ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติ ออบหลวง น้ำตกแม่เตี๊ยะตั้งอยู่บริเวณกลางป่าลึก ตัวน้ำตกสูงประมาณ 80 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร น้ำตกมีทั้งหมด 4 ชั้น มีระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีน้ำตลอดปี ชาวสบเตี๊ยะนำน้ำจากที่นี่ไปใช้ในการเกษตร เหมาะสำหรับเป็นแหล่ง ศึกษาธรรมชาติ การเดินทาง จากเชียงใหม่โดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอจอมทอง เลี้ยวขวาข้างที่ว่าการอำเภอ หรือเลี้ยวขวาข้างวัดสบเตี๊ยะ มีระยะทางโดยรวม 15 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทาง เชียงใหม่-จอมทอง จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
  • น้ำตกแม่ปาน
ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 1009 ตรงด่านตรวจกิโลเมตรที่ 38 ไปตามเส้นทางสายอินทนนท์-แม่แจ่ม (ทางหลวงหมายเลข 1192) ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตก แยกเข้าไปอีก 9 กิโลเมตร เป็นทางลูกรังในช่วงหน้าฝนทางลำบากมาก ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น และจากจุดจอดรถต้องเดินต่อไปอีก ประมาณ 10 นาที จึงจะถึงตัวน้ำตก น้ำตกแม่ปานนับว่าเป็นน้ำตก ที่ยาวที่สุดของเชียงใหม่ก็ว่าได้ น้ำจะตกลงมาจากหน้าผาซึ่งสูงกว่า 100 เมตร เป็นทางยาว ถ้ามองดูแต่ไกลจะเห็นสายน้ำยาวสีขาวตัดกับสีเขียวของต้นไม้ทำให้ดูเด่น น้ำที่ตกลงมายังเบื้องล่างกระทบโขดหินแตกเป็นฟองกระจายไปทั่วบริเวณ เบื้องล่างมีแอ่งน้ำหลายแอ่งผู้มาพักผ่อนลงอาบเล่นได้
  • น้ำตกแม่ยะ
เป็นน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีขนาดใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้นๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำใสเย็นเหมาะสำหรับ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งบริเวณรอบๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาด และจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร
  • น้ำตกวชิรธาร
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ ตาดฆ้องโยง ตัวน้ำตกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 750 เมตร น้ำจะดิ่งจากผาด้านบนตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในช่วงที่มีน้ำมากละอองน้ำจะสาดกระเซ็นไปทั่วบริเวณรู้สึกได้ถึงความเย็น และชุ่มชื้น สะพานไม้ที่ทอดยาวเข้าไปหาหน้าผานั้นจะเปียกลื่นอยู่ตลอดเวลา ในฤดูน้ำมาก แต่หากเดินเข้าไปจนสุดจากจุดนั้นจะได้สัมผัสกับความงาม ของน้ำตกมากที่สุด การเดินทาง จากเชิงดอยอินทนนท์ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 21 จะเห็นป้ายบอกทางแยกขวาเข้าน้ำตก ลงไป 500 เมตร ถนนจะถึงที่ตัวน้ำตก อีกเส้นทางหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเดิมอยู่เลยจาก ทางแยกแรกไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามป้ายและเดินจากลานจอดรถ ลงไปอีก 351 เมตร หากใช้เส้นทางนี้จะได้สัมผัสกับงามของธรรมชาติรอบด้าน ตลอดทางเดิน
  • น้ำตกสิริภูมิ
เป็นน้ำตกซึ่งไหลมาจากหน้าผาสูงชัน เป็นทางยาวสวยงามมาก สามารถมองเห็นได้จากถนนขึ้นดอยอินทนนท์ตรงที่ทำการอุทยานฯ จะเห็นเป็นสายน้ำตกแฝดไหลลงมาคู่กันแต่เดิมเรียกว่า เลาลี ตามชื่อของหมู่บ้านม้ง (แม้ว) เลาลี ซึ่งอยู่ใกล้ๆ น้ำตก น้ำตกสิริภูมิตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่รถไม่สามารถเข้าไปใกล้ตัวน้ำตกได้ นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าเข้าไปบริเวณด้านล่างของน้ำตก
  • น้ำตกห้วยทรายเหลือง
เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลแรงตลอดปี และไหลจากหน้าผาลงมาเป็นชั้นๆ ใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน อยู่ห่างจากถนนสายดอยอินทนนท์ - แม่แจ่ม ประมาณ 21 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปสภาพทางเป็นดินลูกรังช่วงหน้าฝนต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ตั้งอยู่บนกิโลเมตรที่ 41.5 ทางด้านซ้ายมือ สร้างขึ้นโดยกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อปี พ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ สร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อปี พ.ศ. 2535 พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้ มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือ ฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปบูชา รอบบริเวณสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์โดยรอบได้อย่างสวยงาม
  • น้ำตกสิริธาร นอกจากความสวยงามของน้ำตกแล้วที่นี่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด รวมทั้งปลาหายาก เช่นปลาค้างคาว ป่าบริเวณนี้เป็นป่าเต็งรังผสมสนเขาและป่าดิบแล้ง นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งสมุนไพรที่สำคัญอีกด้วย
  • ยอดดอยอินทนนท์
จุดสิ้นสุดของเส้นทางสายนี้ เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,565 เมตร) มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นที่ตั้งของสถานีเรด้าร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปพระ เจ้าอินทวิชยานนท์ กษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่ (ในฐานะประเทศราชของสยามเรียกตำแหน่งนี้ว่าเจ้าผู้ครองนคร) องค์ที่ 7 ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้และหวงแหน ดอยหลวงเป็นอย่างมากต้องการที่จะอนุรักษ์ไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน ท่านผูกพันกับที่นี่มากจึงสั่งว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิ ส่วนหนึ่งมาไว้ที่นี่
  • อ่างกาหลวง
เส้นทางนี้ศึกษาธรรมชาติเส้นนี้ สำรวจวางแนวและออกแบบเส้นทางเดินโดย คุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสาสมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานและทุ่มเทให้กับอินทนนท์ เขาได้เสียชีวิตที่นี่ด้วยโรคหัวใจ คติข้อหนึ่งของคุณไมค์คือ รักโลกนี้เสมอไปทำงานเพื่อปกป้องแต่ต้องไม่ลืมหาความสุขจากมันด้วย
  • จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 41
ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน
  • อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 31 เส้นทางหลวงหมายเลข 1009 ถนนจอมทอง-อิทนนท์ บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณโดยรอบมีอากาศหนาวเย็น และมีธรรมชาติที่สวยงาม และมีสนามหญ้าโล่งกว้าง เหมาะแก่การพักผ่อนกางเต้นส์[10]
  • น้ำตกแม่จอน
เกิดจากห้วยแม่จอนหลวง อยู่ในเขตตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายฮอด-แม่สะเรียง ตรงกิโลเมตรที่ 9 เดินตามลำห้วยแม่จอนเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ ลักษณะของน้ำตกนี้เป็นหน้าผาที่กว้างใหญ่มีความสูงไม่น้อยกว่า 100 เมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร น้ำตกที่ตกลงมาเป็นสายเหมือนใยแก้ว กระจายอยู่ทั่วแผ่นผาไม่ขาดสาย และลานหินกว้างสะอาดตา หน้าตาน้ำตกสวยงามมากเป็นหินแกรนิตผสมหินแปรสีขาวเจือสีเทาอ่อน สูงขึ้นไปยังมีน้ำตกเล็กๆสวยงามแปลกตาอีกสองชั้น อยู่ห่างประมาณ 500 เมตรและ 1,500 เมตรตามลำดับ
  • ถ้ำตอง
อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง "ดอยผาเลียบ" เป็นภูเขาหินแกรนิตและหินปูนที่มีรูปร่างเหมือนถูกผ่าครึ่งแล้วแยกกันอยู่คน ละฝั่งลำน้ำแม่แปะ ซีกที่อยู่ทางฝั่งขวามีถ้ำลึกที่มีตำนานเล่าขานกันว่า ถ้ำนี้เป็นอุโมงค์หินที่มีความยาวมาก กล่าวว่าทะลุถึงดอยเชียงดาวทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ทีเดียว บริเวณปากอุโมงเป็นคูหาขนาดประมาณ 5 x 10 เมตร สูง 3 เมตร ลึกเข้าไปจากนั้นเป็นโพรงหินเล็กๆขนาดพอตัวคนคลานเข้าไปได้ สภาพภายในคูหาปากถ้ำถูกสกัดตกแต่งใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนัก วิปัสสนาถ้ำตอง โดยรอบๆในหุบเขาร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ป่าดงดิบที่มีขนาดใหญ่ๆเช่น มะม่วงป่า ตะเคียนทอง มะหาด กระท้อน หน้าถ้ำมีธารน้ำแม่แปะไหลผ่าน ต้นแม่น้ำแปะห่างจากถ้ำตองขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตรมีน้ำตกเล็กๆ เรียกว่า น้ำตกวังคำ
  • ถ้ำตุ๊ปู่
อยู่ในท้องที่ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำแคบ กว้างยาวประมาณ 1x1.5 เมตร ต้องนั่งยองๆเข้าไป ภายในกว้างขวางรูปร่างค่อนข้างกลมเหมือนคนโทขนาดใหญ่ มีน้ำหยดจากเพดานถ้ำตลอดเวลา ทำให้เกิดหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป ตรงเพดานค่อนข้างไปทางก้นถ้ำทะลุเป็นวงกลมใหญ่ๆ 3 ช่องติดกัน จึงทำให้ถ้ำสว่างไสวไม่มืดทึบเหมือนถ้ำโดยทั่วไป[11]

[แก้] ฤดูกาลท่องเที่ยว

  • สำหรับใครที่คิดว่าอยากสัมผัสอากาศหนาวต้องเดินทางช่วงปลายปี สำหรับดอยอินทนนท์แล้วสามารถเดินทางไปเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูร้อน เดือน มีนาคม – พฤษภาคม แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว แต่บนยอดดอยยังมีอากาศสดชื่นเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส มีน้ำตกน้อยใหญ่ที่มากที่สุดแห่งของประเทศไทยและมีชื่อเสียงเป็รนที่รู้จัก ของนักท่องเที่ยว อาทิเช่น น้ำตกแม่ยะ น้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ เป็นต้น ฤดูฝนเดือน มิถุนายน – กันยายน ฝนตกชุกเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่า ชมสายหมอกและละอองฝนที่เพิ่มความสวยงามผสมกลมกลืนกันอย่างน่าอัศจรรย์ ฤดูหนาวเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาวและฝนเริ่มลดน้อยลงและอากาศเย็นลงบ้าง และมีอากาศหนาวจัดที่สุดในช่วงเดือนมกราคม เป็นฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวมากที่สุด เพราะสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นท้องฟ้าแจ่มใส ตัดกับสีเขียวของป่าไม้ อากาศจะเย็นมากในตอนกลางคืน อุณหภูมิจะลดต่ำกว่า 0 องศา ถึง - 7 องศาเซลเซียส ในบางปี อุณหภูมิอาจติดลบ ทำให้เกิดคำข้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยว ตามแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกบนยอดดอยอินทนนท์ เป็นที่ผ่อนคลายความร้อนได้เป็นอย่างดี สำหรับเมืองจอมทอง ปัจจุบันมีโรงแรม รีสอร์ทจำนวนมาก รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาพักผ่อนหย่อนใจ โดยเมืองจอมทองมีสิ่งอำนวยสะดวกครบคัน มีการพัฒนาทุกๆด้าน โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้ผลักดันให้อำเภอจอมทอง เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวในเมืองหลากหลาย เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวนมาก [12]

[แก้] อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น